วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี


บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบ ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึง การสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น ไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญา ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัย เข้ากับการกำหนดฐานความผิด และบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้น ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรม ทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน ส่วนสำหรับในประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาร่างกฎหมายขึ้น เพื่อใช้บังคับ โดยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที 2000) เพื่อพัฒนาสังคม และเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่ ยุคเศรษฐกิจใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญ ของนโยบายดังกล่าว คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และให้คณะกรรม-การฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการ และประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำ กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็น เลขานุการคณะกรรมการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า กฎหมายแลกเปลี่ยน ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ต่อมาได้มีการรวมหลักการเข้ากับกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และรวมเรียกชื่อเดียวว่า กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์”) กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน (เดิมเรียกว่า กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78”) กฎหมายเกี่ยวกับการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์ อนึ่ง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลัก ในการดำเนินงานของโครงการ พัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการยกร่าง กฎหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับข้างต้น คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิจขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจาก สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การเงินการธนาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ใน การพิจารณายกร่างกฎหมายโดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของกฎหมายเทคโนโลยีในประเทศไทยได้
วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)

กรณีศึกษา : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศกรีม iberry

กรณีศึกษา : การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศกรีม  Iberry
ร้านไอศกรีม  Iberry มีคุณวิวัฒน์ และคุณอัจฉรา บุรารักษ์ เป็นจ้าของปัจจุบันมี 10สาขาในกรุงเทพ 9 สาขาและต่างจังหวัด 1สาขา iberry เป็นไอศกรีมโฮมเมดที่เน้นรสชาติของผลไม้ไทย เช่น มะยม มะดัน มะม่วง มะพร้าว
ในช่วงแรกๆ ร้าน iberry ประสบปัญหาในการบริหารงาน 3 ประการสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาเรื่องการควบคุมความเย็นในกรณีที่ตู้เย็นเก็บไอศกรีมมีปัญหา เช่น ไฟดับ หรือตู้เย็นเสีย
2. ปัญหาเรื่องข้อมูลการขายจะทำอย่างไรเพื่อให้ทราบว่าในแต่ละวันมีการขายไอศครีมแต่ละรสชาติเป็นจำนวนเท่าไรและจะทราบได้อย่างไรว่าพนักงานขายไม่ทุจริตในการตักไอศครีมจากถาด
3. ปัญหาการดูแลพนักงานเนื่องจากทางร้านมีหลายสาขาทำให้ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปดูแลในแต่ละสาขาได้ด้วยตนเอง
                จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นผู้บริหารร้านไอศกรีมมีแนวคิดที่จะนำไอที(ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์และเครือข่าย)เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาดังนี้
1. ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภมิที่ตู้ไอศครีมหากอุณหภมิเปลี่ยนแปลงเครื่องควบคุมระบบจะโทรศัพท์อัตโนมัติแจ้งให้ศูนย์ควบคุมได้ทราบ
2. ใช้ซอฟแวร์ kiosque สำหรับธุรกิจห้องอาหารเข้ามาช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการขาย
3. การควบคุมดูแลพนักงานร้านในแต่ละสาขาใช้วิธีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดด้วยระบบ network camera สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลาและสามารถดูภาพผ่านทางเครือข่านอินเตอร์เน็ต
คำถาม
1. ประโยชน์ที่ร้านไอศครีมนำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงานนอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้วท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
                =  ในด้านการนำระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการบริหารงานให้มีความทันสมัยมากขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้ผู้จัดการภายในร้านมีความสะดวกสบายมากขึ้รด้วย
2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศกรีม iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง
                 = ในด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือการส่งเสริมการขายโดยสามารถทำผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่นการจัดทำโฆษณาขายไอศครีมหรือมีบริการสั่งซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้
3. จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศกรีมนั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง
                = ธุรกิจร้านอาหารหรือร้านขายของเนื่องจากถ้าเป็นร้านอาหารจะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบในการทำในแต่ละวันเป็นจำนวนมากหากมีข้อขัดข้อง เช่นไฟดับ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัตถุดิบที่ใช้ทำได้

สรุปบทที่4

บทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
แนวคิดและองค์ประกอบ
1. แนวคิด 
                องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงต้นทุนการใช้งานต่ำ ก่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ  องค์การได้พัฒนาระบบประมวลผลธุรกรรม เพื่อบันทึกและประมวลผลยอดขาย รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินและการบัญชี ผลประโยชน์ที่ได้รับคือ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงานและช่วยลดต้นทุนด้านเอกสารที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลต่อองค์การ
                อย่างไรก็ตามองค์การยังตระหนักถึงข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินหรือการจัดการทั่วไป โดยสนองตอบความต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ถือเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นองค์การจึงมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควบคู่ไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในบางองค์การยังมีการพัฒนาระบบที่เป็นเป้าหมายพิเศษ
2. องค์ประกอบ
                2.1 ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
                2.2 การสื่อสาร หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการสรรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อนพข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไป
                2.3 เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
                2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจได้ทันที
                2.5 การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้น
การจัดการ
                องค์การที่มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจจะช่วยนำเสนอในข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การและใช้เป็นเครื่องมือช่วยจัดการงานด้านต่างๆซึ่งได้อธิบายรายละเอียดใน 2 หัวข้อย่อยดังนี้
1. แนวคิดและความหมาย
                รอบบินส์และคูลเทอร์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการประสานงานเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้หลักการวัดผลดังนี้
                ประสิทธิภาพ วัดได้จากทรัพยากรที่ใช้และผลผลิตี่ได้หากใช้ทรัพยากรน้อยและได้ผลผลิตมากกว่าเดิมถือว่ามีประสิทธิภาพ
                ประสิทธิผล วัดได้จากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในระยะยาวหากองค์การใดสามารถบรรลุทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถือว่าองค์การนั้นได้ผลผลิตสูง
สำหรับฟังก์ชันด้านการจัดการสามารถจำแนกได้ 5 ประการดังนี้
1. การวางแผน เป็นหน้าที่แรกซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบแนวคิด กระบวนการ ตลอดจนการประสานงานในกิจกรรมต่างๆ
2. การจัดองค์การเป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำ บุคลากรที่รับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ กลุ่มงาน รวมทั้งสายการบังคับบัญชา
3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน เป็นการจัดวางบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งด้านคุณภาพของบุคคลและปริมาณแรงงานที่ต้องการ ตลอดจนการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
4. การนำ เป็นการสั่งการหรือจูงใจให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเต็มความสามารถเพื่อการบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดขององค์การ
5. การควบคุม เป็นการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานงานเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานจากนั้นจึงทำการแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมาย
                องค์การส่วนใหญ่ได้นำหลักการจัดการมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศโดยการนำเสนอข่าวสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น มักมีการใช้สารสนเทศสำหรับทุกๆฟังก์ชัน
2. ผู้จัดการและผู้บริหาร
                แต่ละองค์กรธุรกิจจะมีโครงสร้างองค์กรบ่งบอกระดับชั้นของบุคลากรในองค์การ อาจใช้ชื่อผู้จัดการหรือผู้บริหาร ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์การในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของผู้จัดการและผู้บริหารในภาพรวมดังนี้
                ผู้จัดการและผู้บริหาร คือ บุคคลที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆระหว่างแผนกงาน ทีมงาน และบุคคลภายนอกองค์การ โดยทั่วไปมีการจำแนกผู้จัดการและบริหารเป็น 3 ระดับคือ
2.1 ผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง รับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ จัดทำแผนระยะยาวเพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ ทรัพยากรและนโยบายขององค์การ
2.2 ผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงกลวิธี จัดทำแผนระยะปานกลางที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนนั้นจัดอยู่ในหน่วยธุรกิจหรือแผนก
2.3 ผู้จัดการระดับล่าง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนงานให้เป็นไปตามแผนเชิงกลวิธี โดยจัดทำแผนปฏิบัติงานเป็นแผนระยะสั้น มักเน้นการสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม บทบาททั่วไปของผู้จัดการและผู้บริหารทั้ง 3 ระดับมีดังนี้
ระดับที่ 1 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำแนกได้ 3 บทบาท คือ
1. การเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมขององค์การ
2. การเป็นผู้นำองค์การกระตุ้นพนักงานให้มีความร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่
3. การประสานงานกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างความราบรื่นด้านการดำเนินงานขององค์การ
ระดับที่2 ด้านข้อมูลข่าวสารจำแนกได้ 3 บทบาทคือ
1. การเป็นตัวการด้านการไหลเวียนข่าวสารและติดตามตรวจสอบข้อมูล
2. การเป็นผู้กระจายข่าวสารให้พนักงานรับทราบ
3. การเป็นโฆษก ทำหน้าที่กระจายข่าวสารขององค์การไปสู่ภายนอก
ระดับที่3 ด้านการตัดสินใจจำแนกได้ 3 บทบาทคือ
1. การเป็นผู้ประกอบการโดยการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
2. การเป็นนักแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปและเป็นคนกลางในการตัดสินปัญหานั้น
3. การเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งมีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจ
1. แนวคิดและความหมาย
 คือ กระบวนการเลือกทางเลือกที่จำเป็นสำหรับการบริหารงานโดยผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเลือกทางเลือก ดังนั้นระบบสารสนเทศจะให้ข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนในทุกๆขั้นตอนของการตัดสินใจ ทั้งช่วยจัดเตรียมข้อมูลซึ่งเป็นผลป้อนกลับที่เป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ
2. แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
Stair and Reynolds ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ติ ไซมอน ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นอัจฉริยะ คือ ขั้นของจำแนกและนิยามถึงปัญหาโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างชัดเจนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวพันธ์กับสาเหตุและขอบเขตของปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นออกแบบ คือ ขั้นของการพัฒนาทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลายด้วยวิธีการต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตัวเลือก คือ ขั้นของการเลือกชุดปฏิบัติการที่ดีที่สุดโดยใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายและติดตามผลของการใช้ชุดปฏิบัติการนั้น
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นทำให้เกิดผล คือ ขั้นของการนำชุดปฏิบัติการที่เลือกไว้ในขั้นตัวเลือกไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นกำกับดูแล คือ การประเมินผลการปฏิบัติการที่ถูกนำไปใช้โดยผู้ตัดสินใจและติดตามผลลัพธ์ของการตัดสินใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
3. การจำแนก
                3.1 การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง  เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันทุกวัน เป็นลักษณะงานประจำสามารถเข้าใจได้ง่าย
                3.2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ใช้กฏเกณฑ์เป็นบางส่วน
                3.3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
4. รูปแบบการตัดสินใจ
                4.1 ระดับบุคคล เป็นระดับการตัดสินใจในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้อธิบายถึงลักษณะนิสัยส่วนบุคคลในการตอบสนองต่อข่าวสารแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ
                รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
                รูปแบบที่2 การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก
4.2 ระดับองค์การ เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายในองค์การ ซึ่งให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญ
 รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องมาหลายปีและแบ่งหน่วยงานออกเป็นหลายหน่วยย่อย แต่ละหน่วยจัดการกับปัญหาเฉพาะที่ตนเชี่ยวชาญเท่านั้น
  รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่มีการยกอำนาจการปกครองอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่บุคคล อาจมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันสำหรับการตัดสินใจ
  รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ คือ รูปแบบการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล มักเกิดขึ้นจากาความบังเอิญ
สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
     ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 25) ได้ให้นิยามไว้ว่า สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการสรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลดำเนินงานขององค์การเพื่อให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มทางการเงิน การตลาด และการผลิตของบริษัท ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี 7 ประการ คือ
      1.สารสนเทศที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือระดับผลงานที่ทำได้
      2. สารสนเทศด้านปัญหาจากการดำเนินงานและรายงานด้านโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
                    3. สารสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงที่มักส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจหยุดชะงัก
      4. สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นในอนาคต
      5. สารสนเทศที่แจ้งให้ทราบถึงผลดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งในส่วนผลประกอบการ ส่วนแบ่งตลาด และยอดขายในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ รวมทั้งผลดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
     6. สารสนเทศภายนอกเกี่ยวกับข้อคิดเห็น คู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การตลาด
    7. สารสนเทศที่แจกจ่ายออกสู่ภายนอก เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและผู้สื่อข่าวทราบ
    นอกจากนี้ Stair and Reynolds (2006, p.460) ได้จำแนกประเภทของสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
    1. รายงานตามกำหนดการ คือ รายงานที่ผลิตขึ้นตามงวดเวลาหรือตามตารางเวลาที่วางไว้ เช่น การใช้รายงานสรุปรายสัปดาห์ของผู้จัดการผลิต ซึ่งแสดงถึงต้นทุนเงินเดือนทั้งหมด เพื่อผลสำหรับการติดตามและควบคุมต้นทุนค่าแรงและต้นทุนงาน โดยมีการอกกรายงานวันละ 1 ครั้ง
     2. รายงานตัวชี้วัดหลัก คือ รายงานสรุปถึงกิจกรรมวิกฤติของวันก่อนหน้านี้ และใช้เป็นแบบฉบับของการเริ่มต้นกิจกรรมใหม่ ซึ่งจะสรุปถึงระดับสินค้าคงเหลือ กิจกรรมผลิต ปริมาณขาย โดยมักมีการนำเสนอต่อผู้จัดการและผู้บริหาร
        3. รายงานตามคำขอ คือ รายงานที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอ คือ การผลิตรายงานตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบสถานะของผลิตภัณฑ์เฉพาะรายการ
         4. รายงานตามยกเว้น คือ รายงานที่มักมีการผลิตขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเกิดความต้องการพิเศษทางการจัดการ
        5. รายงานเจาะลึกในรายละเอียด คือ รายงานที่ช่วยสนับสนุนรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์หนึ่ง เช่น มองยอดขายรวมของบริษัท แล้วค่อยมองข้อมูลในส่วนที่เป็นรายละเอียด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
   1. ระบบประมวลผลธุรกรรม
        Stair and Reynolds (2006, p.25) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คือ ชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ตลอดจนหน้าที่งานทางธุรกิจ
        ระบบพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งมักถูกพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ระบบแรก คือ ระบบเงินเดือน สิ่งรับเข้า คือ จำนวนชั่วโมงแรงงานของลูกจ้างในช่วงหนึ่งสัปดาห์ และอัตราการจ้างเงินเดือน สิ่งส่งออก คือ เช็คเงินเดือน ระบบเงินเดือน
 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
         Laudon and Laudon (2005, p.46) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การมากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกองค์การ
         Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อการนำเสนอสารสนเทศประจำวันต่อผู้จัดการและผู้ตัดสินใจในหน้าที่งานต่าง ๆ จุดมุ่งหมาย คือ ประสิทธิภาพเบื้องต้นของการดำเนินงานด้านการตลาด การผลิต การเงินที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลรวมขององค์การ
         เอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแกองค์กรธุรกิจ โดยการสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง จุดมุ่งหมาย คือ ให้การสนับสนุนด้านการบรรลุเป้าหมายของการบริหารงานในองค์การ เพื่อควบคุม จัดโครงสร้าง และวางแผนที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                3.1 แนวคิดและความหมาย
 Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง จุดมุ่งหมาย คือ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล โดยเอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
              Turban et al (2006, p.465) ได้ให้นิยามไว้ว่า คือ ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมตัวแบบและข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักครอบคลุมการตัดสินใจของผู้ใช้ และเป็นระบบที่แสดงถึงแนวโน้มหรือปรัชญามากกว่าหลักการที่ถูกต้องแม่นยำ
  เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
1.  ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ ๆ ที่มีความถูกต้องแม่นยำ
2.  การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ ระบบสารสนเทศที่มีเดิม มักไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจ
3.  หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความต้องการที่หลากหลายของบริษัท ยังขาดฟังก์ชันด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต่อการบริหารและตัดสินใจ
4.   เกิดความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย

3.2 สมรรถภาพของระบบ
                 Turban et al (2006, p. 466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ ดังนี้
1. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม มักใช้กับปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
2. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับ
3. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ทุก ๆ ระยะของกระบวนการตัดสินใจ
4. ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานภายใต้เวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง และสามารถใช้ได้หลายกรณี
6. ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการกลั่นกรองระบบประยุกต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
7. ระบบที่ใช้ประกอบด้วยตัวแบบเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
8. ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักถูกใช้เครื่องมือภายใต้การจัดการความรู้
 9. ระบบอาจถูกแพร่กระจายการใช้งานผ่านเว็บ
 10. ระบบอาจถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติ ด้านการวิเคราะห์ความไว
 3.3 ลักษณะเฉพาะของระบบ
               3.3.1 การวิเคราะห์ความไว คือ การศึกษาผลกระทบของการใช้ตัวแบบในส่วนต่าง ๆ ของระบบ ที่สามารถตรวจสอบผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำเข้าที่มีต่อตัวแปรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ (Turban et al., 2006, p.466)
                3.3.2 การค้นหาเป้าหมาย คือ กระบวนการกำหนดข้อมูลที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการคำตอบของการแก้ปัญหานั้น (Stair & Reynolds, 2006,p.481)
                 3.3.3 การจำลอง โดยทำการสำเนาลักษณะเฉพาะของระบบจริง เช่น จำนวนครั้งของการซ่อมแซมส่วนประกอบของกุญแจ จะต้องคำนวณเพื่อกำหนดผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถผลิตได้ในแต่ละวัน
          3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ
              Turban et al. (2006, p.466) ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอส ควรประกอบไปด้วย
                      3.4.1 ระบบจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ไหลเวียนจากหลาย ๆ แหล่ง และถูกนำมาสกัดเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของดีเอสเอส หรือโกดังข้องมูล
                     3.4.2 ระบบจัดการตัวแบบ โดยมักใช้ตัวแบบเชิงปริมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาตรฐานด้านการเงิน สถิติ และวิทยาการจัดการ
                     3.4.3 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ครอบคลุมถึงการสื่อสาระหว่างผู้ใช้ระบบในบางระบบที่ถูกพัฒนาอย่างชำนาญการ เช่น ความง่ายของการโต้ตอบกับระบบจะช่วยสนับสนุนให้ผู้จัดการและพนักขายเต็มใจใช้ระบบ
                      3.4.4 ผู้ใช้ขั้นปลาย คือ บุคคลผู้ซึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการตัดสินใจ คือ ผู้จัดการหรือผู้ตัดสินใจนั่นเอง
                                3.4.5 ระบบจัดการความรู้ ใช้สำหรับการแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งต้องการความรู้ความชำนาญมาช่วยหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
       3.5 กระบวนการทำงาน ส่วนประกอบของดีเอสเอส คือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ทำงานบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์มาตรฐาน เช่น มัลติมีเดีย โดยอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผ่นตารางทำการ
4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
    Stair and Reynolds (2006, p.491) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรืออีเอสเอส  ในบางครั้งเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง หรืออีไอเอส คือ ระบบซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนคำสั่ง และบุคลากร ที่ใช้สนับสนุนด้านการตัดสินใจของผู้บริหารระดับอาวุโส
       4.1 วิสัยทัศน์ อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ
      4.2 คุณลักษณะ
                    1. เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งทำโดยผู้บริหารรายบุคคล
                        2. เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน
                        3. เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
                        4. เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์การ
                         5. เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน
                         6. เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ
                         7. เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยมูลค่าเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
                4.3 สมรรถภาพของระบบ
                                4.3.1 การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ เป็นงานหลักที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
                                4.3.2 การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
                                4.3.3 การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การ และการจัดคนเข้าทำงาน ใช้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านการจัดคนเข้าทำงาน การยกระดับการจ่ายเงินเดือน
                                4.3.4 การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือด้านการติดตามดูแลการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การ การแสวงหาเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร
                                4.3.5 การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤติ โดยองค์การอาจต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติต่าง ๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ การเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการจัดการ
 1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
                Turban et al. (2006, p.470) ได้ให้นิยามว่า คือ ระบบพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบ ที่อำนวยความสะดวกด้านการค้นหาคำตอบของปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ถูกนำมาใช้โดยกลุ่มตัดสินใจที่มุ่งเน้นการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ
                Stair and Reynolds (2006, p.488) ได้ระบุคุณลักษณะสำคัญของจีดีเอสเอส ซึ่งจะนำมาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มร่วมงานที่มักเกิดความขัดแย้งของกระบวนการกลุ่ม ดังนี้
                1. การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล
                2. การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน
                3. การสื่อสารทางขนานตามวัฒนธรรมการประชุมแบบเดิม
2.ห้องตัดสินใจ
                เป็นสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งถูกติดตั้งในอาคารเดียวกันกับผู้ตัดสินใจหรือในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน และผู้ตัดสินใจ คือ ผู้ใช้เฉพาะกาลของจีดีเอสเอส โดยอีกทางเลือกหนึ่งของห้องตัดสินใจ คือ การรวมส่วนประกอบของระบบโต้ตอบด้วยวาจาแบบเผชิญหน้า ด้วยการรวมตัวของกลุ่มเทคโนโลยี
3. ปัญญาประดิษฐ์
                หรือ เอไอ ซึ่งเป็นระบบลอกเลียนแบบคุณลักษณะอันชาญฉลาดของมนุษย์ Stair and Reynolds (2006, p.29) ได้ระบุไว้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะประกอบด้วยสาขาย่อย เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบภาพ การประมวลภาษาธรรมชาติ โครงข่ายประสาท ระบบการเรียนรู้ รวมทั้งระบบผู้เชี่ยวชาญ
 4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
                คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแนะนำและกระทำการ ดังเช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ มูลค่าพิเศษของระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การให้เครื่องมือในการจับและใช้ความรอบรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมทั้งใช้ในด้านการติดตามงานระบบงานที่ซับซ้อน เพื่อการบรรลุด้านมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่เหมาะสมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ภายในฐานความรู้
 5. ความเป็นจริงเสมือน
                คือ การจำลองความจริงและสภาพแวดล้อมที่ถูกคาดการณ์ขึ้นด้วยแบบจำลอง 3 มิติ Stair and Reynolds (2006, p.31) ได้กล่าวถึง โลกเสมือน คือ การแสดงระดับเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดของมนุษย์ โดยการติดตั้งรูปแบบ 3 มิติ สำหรับอุปกรณ์รับเข้าของความเป็นจริงเสมือนที่หลากหลาย เช่น จอภาพบนศีรษะ ถุงมือข้อมูล ก้านควบคุม และคทามือถือที่เป็นตัวนำทางผู้ใช้ผ่ายสิ่งแวดล้อมเสมือน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ :

.

แบบฝึกหัดบทที่3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คืออะไร
                = การวางแผนการปฏิบัติงานในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                =  การนำหรือการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนสูง
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
                =   การประกอบธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นรูปแบบของการสับเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิคส์ ตลาดอิเล็กทรอนิคส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่ และการพาณิชย์แบบร่วมมือ
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
= การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูล
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับอันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
                =  1. เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้ชุดคำสั่งของระบบประยุกต์เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
                2. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นการปฏิบัติงาน การัดการ และการตัดสินใจ
                3. เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
                4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม
                5. เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
                6. เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7. เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
                =  ควรเลือกซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจนั้นๆ  ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองแล้วนั้น ความต้องการข้อมูลมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาจเลือกใช้แนวทางการใช้บริการภายนอกหรือการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในธุรกิจการเองก็ได้แล้วแต่ความพร้อมในด้านต่างๆ ของธุรกิจ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอกเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร
                คือ รูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จัดอยู่ในรูปแบบสนับสนุนจากผู้ขายซึ่งก็คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้นโดยผ่านการอกแบบการทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
                วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
9. วิธีการพัฒนาระบบใดที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบใดมากที่สุด
                =  วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
                = เนื่องจากหากต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่มักใช้วิธีการพัฒนาแบบจำลองน้ำตกเนื่องจากว่าแบบจำลองน้ำตกเป็นวิธีการที่มีความละเอียดมากที่สุดเพราะหากว่าภายในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมีความผิดพลาดแล้วจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่ตั้งแต่ต้นซึ่งแตกต่างจากวิธีอื่นๆ
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
                =  การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกันทั้งผังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงาน ของระบบทะเบียนนักศึกษาในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียนตลอดจนการวัดผลประเมินผลการเรียน

นักศึกษาลงทะเบียนเรีย
นผ่านระบบออนไลน์
 

นักศึกษา
 

คอมพิวเตอร์(อินเตอร์เน็ต)
 



เส้นแบ่งเขตระหว่างนักศึกษาและผู้ให้บริการ
 

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 3

บทที่3 การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การวางแผนระบบสารสนเทศ
1. แนวคิด      จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบันได้เกิดสภาวการณ์การแข่งขันในทางธุรกิจที่รุนแรงยิ่งขึ้นธุรกิจได้นำข้อมูลและสารสนเทศ ใช้เป็นอาวุธสำคัญสำหรับการกำหนดกลยุทธ์ทางการแข่งขัน  การตอบโต้กับสภาพแวดล้อมธุรกิจ  ดังนั้นธุรกิจจึงจำเป็นต้องวางแผนระบบสารสนเทศซึ่งกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยเฉพาะการใช้วิธีพื้นฐานด้านการพัฒนาระบบ จากบนลงล่าง เพื่อกำหนดถึงระบบที่ต้องการพัฒนา
                ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 153) ให้คำจำกัดความว่า การวางแผนระบบสารสนเทศ คือ การคาดการณ์ผลลัพธ์ของกานำระบบสารสนเทศมาใช้ ประกอบการดำเนินงานทางธุรกิจ ตลอดจนการกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อให้ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่ตั้งไว้ล่วงหน้า  ดังนั้นผลที่ได้จากการวางแผนระบบสารสนเทศก็คือ แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนกลยุทธ์ขององค์การนั่นเอง
2. กลยุทธ์ธุรกิจ   การวางแผนระบบสารสนเทศมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกลยุทธ์ธุรกิจ  ดังนั้นก่อนที่ทำการวางแผนระบบสารสนเทศควรมีความเข้าใจความหมายของกลยุทธ์ธุรกิจและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ มีรายละเอียดดังนี้
                2.1 ความหมาย   ณัฐพันธ์ เขจรนันท์และไพบูลย์ เกียรโกมล (2548, หน้า 212)  ได้กล่าวว่า ในอดีตกลยุทธ์ หมายถึง ศาสตร์หรือศิลป์ที่ใช้ในการบังคับบัญชากองทัพ ต่อมามีการนำกลยุทธ์ ไปใช้ในหลากหลายแนวทาง โดยเฉพาะส่วนการดำเนินงานเชิงรุกของธุรกิจภายในข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งทวีความรุนแรงทั้งจากความซับซ้อนของการดำเนินงานและการแข่งขันทางธุรกิจ โดยกลยุทธ์ทางธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับดังนี้
                                2.1.1 กลยุทธ์ระดับบริษัท
                                2.1.2  กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ
                                2.1.3  กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน
                2.2 การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ   Porter (as quoted in Romney & Steinbart, 2003)  ให้ความเห็นว่า ธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จต้องมีการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ หรือสินค้าที่มีราคาต่ำหรือทั้งสองอย่างให้กับลุกค้า สรุปกลยุทธ์พื้นฐาน 2 กลยุทธ์ดังนี้
                                กลยุทธ์ที่ 1 ต้นทุนต่ำที่สุด คือการใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนดำเนินงานของธุรกิจให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
                                กลยุทธ์ที่ 2 ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ คือ การใช้กลยุทธ์ด้านการสร้างจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อวางตำแหน่งของธุรกิจ 3 วิธีดังนี้
                วิธีที่ 1 กลยุทธ์แบบหลากหลาย
                วิธีที่ 2 กลยุทธ์แบบสนองความต้องการ
                วิธีที่ 3 กลยุทธ์แบบการเข้าถึง
3. กระบวนการวางแผน   
                ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 153) จำแนกกระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศไดเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
                ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ถือเป็นงานแรกของการวางแผนระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ นำมาใช้เป็นแนวทางการวางแผนในขั้นต่อไป
                ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนสิ่งแวดล้อมเป็นการค้นหาผลกระทบที่มีต่อแผนรยะยาวของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน พิจารณาถึงสิ่งแวดล้อม 2ส่วนดังนี้คือ
                                1. สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ พิจารณาถึงความสามารถของบุคลากรภายในองค์การในการใช้ระบบสารสนเทศเป้าหมาย ตลอดจนการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรม
                                2. สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ พิจารณาถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ การเพิ่มสมรรถนะของระบบในอนาคตตลอดจนการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการได้มาซึ่งเทคโนโลยีนั้นด้วย
                ขั้นตอนที่ 3 การจับประเด็นกลยุทธ์ เลือกทิศทางที่องค์การจะก้าวไปในอนาคตหรือในระยะยาวเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
                ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดนโยบาย การจัดทำแผนปฏิบัติงานในส่วนระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ภายใต้แผนกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ โดยใช้กลยุทธ์เป็นตังบ่งบอกถึงทิศทางที่ธุรกิจจะดำเนินไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และใช้นโยบายเป็นแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินการด้านระบบสารสนเทศเป็นไปตามแผนกลยุทธ์
                ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดขั้นตอนการทำงาน เป็นการนำนโยบายมาแตกย่อยเป็นวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมการทำงานของผู้ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการวางแผน
4. การวางแผนเชิงกลยุทธ์   เพื่อนำมาใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน องค์การจะต้องทำการกำหนดแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น โดยมีกระบวนการที่แตกต่างจากกระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศในข้อ 3 ดังนี้
                ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดภาระหน้าที่งานของสารสนเทศ
                ขั้นตอนที่ 2 การประเมินสภาวะแวดล้อม
                ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์
                ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดแนวทางกลยุทธ์
                ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดนโยบายสารสนเทศ
                ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนระยะยาวและระยะสั้น
                ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวที่วางไว้
การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  จำแนกเป็น 2 หัวข้อ คือ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน   เป็นการเกริ่นนำถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่นิยมนำมาใช้ในธุรกิจ  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนผ่านระบบเครือข่าย ส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างองค์การให้แบนราบและลดระดับชั้นของการจัดการลงเพื่อประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร มีจุดเน้นด้านการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้สารสนเทศที่บุคลากรได้รับจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลได้ ซึ่งองค์การนิยมำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะใช้ฮาร์ดแวร์ขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น
1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล  ธุรกิจมีการใช้งานฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในการจัดเก็บข้อมูล ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงวัตถุและฐานข้อมูลหลายมิติมาใช้งานทางธุรกิจร่วมกับเทคโนโลยีโกดังข้อมูล และเทคโนโลยีเหมืองข้อมูล
1.3 เทคโนโลยีอีคอมแมิร์ช  มักใช้ในองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญในส่วนของการประกอบธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ในรูปแบบของการสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์
1.4 เทคโนโลยีด้านการชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ  ปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างธนาคารและองค์การ ห้างร้านทั่วไป เป็นต้น
1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล  มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกับระบบเครือข่ายข้อมูล จำเป็นจะต้องติดตั้งด่านกันบุกรุกซอฟแวร์ต่อต้านไวรัสหรือการจัดการรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน ตลอดจนมีการใช้เทคโนโลยีสแปมเพื่อช่วยในการกลั่นกรองอีเมล์ที่ไร้ประโยชน์
1.6 เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะที่สุด  นิยมใช้ในสำนักงานไร้กระดาษ โดยการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ที่มีความเหมาะสม เกิดรูปแบบความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีระหว่างองค์การ โดยเฉพาะองค์การคู่ค้าในการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิคส์นี้ร่วมกัน
1.7 เทคโนโลยีไร้สาย  เป็นรูปแบบการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านคลื่นอากาศ
1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน คือ การทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สำนักงาน โดยสามารถทำงานคนเดียวหรือทำงานเป็นกลุ่ม
1.9 เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร ใช้ความสามารถด้านการสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิคส์
2.แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                Tunban et al. (2006, p. 27) ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผู้บริหารขององค์การควรคำนึงถึง เพื่อทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสรสนเทศ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคตดังนี้
                2.1 ชิป   จากอัตราส่วนต้นทุนต่อผลการปฏิบัติงานของชิป เป็นปัจจัยหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นตัววัดพลังอำนาจของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ปฏิบัติงานแทนคนด้วยประสิทธิภาพที่เหนือกว่านับ 100 เท่า มีกฎข้อหนึ่ง เป็นที่รู้จักดีชื่อว่า กฎของมัวร์ ทำนายว่าพลังอำนาจด้านการประมวลผลของซิลิกอนชิปจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 18 ปี ส่งผลให้ความเร็วในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับกาลดลงของต้นทุนการประมวลผล
 2.2 หน่วยเก็บ  ปัจจุบันได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคู่ไปกับความเร็วในการประมวลผลของชิป ความสามารถในการเก็บข้อมูลในปริมาณมากมีความจำเป็นต่อระบบประยุกต์ชั้นสูง มีการผลิตอุปกรณ์ใหม่ คิดค้นวิธีการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณความจุของหน่วยเก็บ มีการผลิตหน่วยเก็บในลักษณะของเมโมรีสติ๊ก
                2.3 สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์  เป็นนวัตกรรมใหม่การเขียนดปรแกรมใหม่ๆ การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเทคโนโลยีเชิงอ็อบเจกต์   ช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกันและการนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ ทั้งช่วยให้ผู้พัฒนาระบบสามารถเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเข้าด้วยกันอย่างถาวร แทนที่การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศอย่างชั่วคราว
                2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง   มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง ลำดับแรก เป็นเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อ เอลิซา มีความสามารถในการคำนวณด้วยความเร็วสูงสุด ทั้งยังมีความสามารถซ่อมบำรุงและดำเนินงานเองโดยปราศจากการเข้าแทรกแซงของมนุษย์
                2.5 คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีนี้ มีความเร็วการประมวลผลที่สูงกว่าเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูงสุดหลายร้อยเท่า
                2.6 นาโนเทคโนโลยี  ในอนาคตอาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุลที่มีความเร็วสูงสุด  มีโครงสร้างแบบคริสตัล มีขนาดเล็กมาจนสามารถพกติดตัวได้ ใช้ไฟน้อยมาก ประกอบด้วยหน่วยเก็บความจุสูง ได้รับการป้องกันจากไวรัส คอมพิวเตอร์ กาชนและข้อบกพร่องอื่น

การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ
                ขั้นตอนต่อไปธุรกิจควรให้ความสนใจกับการพิจารณาความได้มาซึ่งระบบสารสนเทศโดยปกติแล้วมี 3 แนวทาง
                แนวทางที่ 1 การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์   จากผู้ผลิต และผู้จำหน่ายซอฟแวร์ในท้องตลาดซอฟวแวร์สำเร็จรูป
                แนวทางที่ 2 การใช้บริการภายนอก  มีการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ต้องการให้
                แนวทางที่ 3 การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานภายในองค์การเอง ผ่านการกิจกรรมด้านการพัฒนาระบบโดยมีการสร้างทีมงานพัฒนาระบบเองซึ่งรายละเอียดของ 3 แนวทางมีดังนี้
1. การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์                  Hall (2004,p.7) ระบุไว้ว่า ในการจัดซื้อซอฟแวร์ธุรกิจสามารถเลือกใช้ 2 รูปแบบ
                รูปแบบที่ 1 ระบบพร้อมสรรพ คือ ซอฟแวร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์และผ่านการทดสอบโปรแกรมเรียบร้อยแล้วจึงพร้อมที่จะติดตั้งใช้งานได้ทันที อาจอยู่ในรูปแบบของซอฟแวร์อเนกประสงค์หรือซอฟแวร์ธุรกิจ โดยซอฟแวร์ที่ดีจะต้องมีตัวเลือกสำหรับผู้ใช้ ที่อยู่ภายในตัวซอฟแวร์มีการยินยอมให้ผู้ใช้สั่งรับเข้า  ส่งออกรวมทั้งประมวลผลข้อมูล ผ่านเมนูเลือกใช้งาน
                รูปแบบที่ 2 ระบบแกนหลัก  คือ ซอฟแวร์ประกอบด้วยโครงสร้างของระบบพื้นฐาน มีการวางโปรแกรมตรรกะของการประมวลผลไว้ล่วงหน้า
2. การใช้บริการภายนอก    เป็นรูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ จัดอยู่ในรูปแบบสนับสนุนจากผู้ขาย คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้น การออกแบบ การทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า ทางเลือกของระบบนี้คือ งานบริการทางกฎหมายที่มีความต้องการของระบบที่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาพนักงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ
3. การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานภายในองค์การเอง   จำเป็นต้องจัดตั้งทีมงานพัฒนาระบบโดยคัดเลือกจากบุคลากรด้านสารสนเทศภายในองค์กรเองร่วมกันทำการพัฒนาระบบโดยใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของบุคลากรในทีมงานนั้นๆ โดยการเลือกใช้ระเบียบวิธีพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับความต้องการโดยทั่วไปนิยมใช้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบวัฏจักรการพัฒนาระบบและรูปแบบวิศวกรรมสารสนเทศ
การพัฒนาระบบ
คือ แนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์การถือเป็นแนวทางที่อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างสูง ในส่วนนี้จะกล่าวถึงหัวข้อย่อย 3 หัวข้อ คือ
1. ระเบียบวิธีพัฒนาระบบจำแนกระเบียบวิธีพื้นฐาน วิธีดังนี้
                1.1 วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตกเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีรูปแบบดังนี้
                               1.1.1 แบบอนุรักษ์ ต้องทำขั้นตอนก่อนหน้าให้เสร็จก่อน
                                1.1.2 แบบตรวจทบทวน
                                1.1.3 แบบเหลื่อม
                1.2 วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ คล้ายคลึงกันกับแบบจำลองน้ำตกแต่จะมีการแทรกขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบอยู่ระหว่างขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบ ใช้ต้นแบบนี้เป็นเครื่องมือตรวจสอบระบบที่กำลังจะพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
                1.3 วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว   ได้มีการค้นคิดวิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว ภายใต้งบประมาณที่ต่ำ ใช้ทรัพยากรน้อยมีวัฏจักรการพัฒนาระบบแบบสั้นๆ และสนองตอบความต้องการใช้ของผู้ใช้เป็นอย่างดี โดยมุ่งเน้นถึงการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบ
                1.4 วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น   เป็นแนวโน้มหนึ่งของการพัฒนาระบบแบบยืดหยุ่นยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการขณะที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ มีการจัดประชุมแบบเผชิญหน้ากัน ระหว่างผู้ใช้ระบบกับทีมงานพัฒนาระบบเพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงและรวมกันทดสอบระบบว่าพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้หรือไม่
                1.5 วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ    เป็นกระบวนการด้านเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ที่เน้นความร่วมมือ มีการจัดการประชุมกลุ่มที่ประกอบด้วยผู้ใช้ระบบ ผู้มีส่วนไดเสีย รวมทั้งทีมงานพัฒนาระบบร่วมกันวิเคราะห์ระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการนี้เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้และยังประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งยังมีการใช้ระบบสนับสนุนกลุ่มเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์กลุ่ม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ร่วมกับ 5วิธีข้างต้น ดังนี้
                                วิธีที่ 1 วิธีจากล่างขึ้นบน คือ การพัฒนาระบบสารสนเทศจากเดิมที่มีอยู่ไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ
                                วิธีที่ 2 วิธีจากบนลงล่าง คือ วิธีพัฒนาระบบที่เหมาะสมที่สุดกับการจัดการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ พิจารณาถึงความต้องการของผู้บริหารระดับสูงเป็นหลักและไม่คำนึงถึงระบบเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2. วัฏจักรการพัฒนาระบบ  คือขั้นตอนหรือกระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาระบบประยุกต์ใช้งานทางคอมพิวเตอร์ทั่วไปดำเนินการพัฒนาระบบที่สมบูรณ์แบบของแต่ละขั้นตอนโดยทีมงานมืออาชีพจำแนกวัฏจักรการพัฒนาระบบได้เป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
                2.1 การวางแผนระบบ ประกอบด้วยงาน 2ส่วนคือ
                                2.1.1 การกำหนดและเลือกโครงการเป็นการพัฒนาความเข้าใจขั้นต้นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจ  ส่งผงให้เกิดคำขอเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่หรือการเพิ่มสมรรถนะของระบบสารสนเทศที่มีอยู่เดิม มีการกำหนดปัญหา ขอบเขตและสาเหตุของปัญหา รวมทั้งมีการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบงานใหม่ดังนี้
                                1. ความเป็นไปได้ทางเทคนิค
                                2. ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ
                                3. ความเป็นไปได้ทางด้านปฏิบัติการ
ผลที่ได้จากขั้นตอนนี้คือ การเรียงลำดับความสำคัญของระบบที่ต้องการพัฒนาโดยประเมินจากข้อสรุปและคำตอบของการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบ และมีการพัฒนาคำขออย่างเป็นทางการสำหรับการริเริ่มสร้างโครงการ
                                2.1.2 การริเริ่มและการวางแผนโครงการ  เพื่อแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ทางธุรกิจ วิธีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาหรือการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ประกอบด้วยขั้นตอนของการพัฒนาโครงการและงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการ ซึ่งอาจจะเป็นการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว หรืออาจเป็นการพัฒนาระบบงานใหม่ก็ได้
                2.2 การวิเคราะห์ระบบ  เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจ การกำหนดความต้องการข้อมูลของระบบสารสนเทศนำไปสู่การกำหนดโครงสร้างของความต้องการนั้นๆ  เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบ โดยวิธีการศึกษาและพัฒนาแบบจำลอง ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ การระบุถึงคุณลักษณะของฟังก์ชันการทำงานของระบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ในรูปแบบแผนภาพ แบบจำลองข้อมูล รวมทั้งความเป็นไปได้ของการพัฒนาและติดตั้งใช้ระบบงาน
2.3การออกแบบระบบ  เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบมาทำการออกแบบระบบใหม่ภายใต้คุณลักษณะที่ต้องการ ในขั้นนี้จะมุ่งเน้นวิธีการแก้ปัญหามากว่าระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขซึ่งลำดับขั้นตอนการออกแบบ มี
                                1. การออกแบบรายงานและจอภาพ
                                2. การออกแบบข้อมูลนำเข้า
                                3. การออกแบบผังงานระบบ
                                4. การออกแบบฐานข้อมูลตรรกะ
                                5. การสร้างต้นแบบ
ในส่วนประเภทของการออกแบบระบบ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
                                ประเภทที่ 1 การออกแบบระบบเชิงตรรกะ
                                ประเภทที่ 2 การออกแบบระบบเชิงกายภาพ
                2.4การทำให้เกิดผล  เป็นการติดตั้งและใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
                                2.4.1 การพัฒนาโปรแกรม เป็นการสร้างฐานข้อมูลและชุดคำสั่ง หรืการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างระบบประยุกต์ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่ คุณสมบัติของการพัฒนาโปรแกรมที่ดี มีดังนี้
                                1. มีการสร้างฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างตามที่ได้ออกแบบไว้
                                2. มีการพัฒนาโปรแกรมจากที่ได้วิเคราะห์และออกแบบไว้
                                3. มีการเลือกภาษาที่เหมาะสมและพัฒนาต่อได้ง่าย
                                4. มีการใช้เครื่องมือเคส
                                5. มีการจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาโปรแกรม
                                2.4.2 การทดสอบโปรแกรม  เป็นการติดตั้งใช้งานโปรแกรมภายใต้ระบบทดสอบ พร้อมทั้งทำการทดสอบโปรแกรมก่อนนำไปใช้งานว่าเป็นไปตามลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ มักมีการกำหนดข้อมูลทดสอบ เลียนแบบข้อมูลจริงของระบบภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าโปรแกรมทำงานถูกต้อง
                                2.4.3 การอบรมผู้ใช้ เป็นขั้นตอนหลังจากที่การทดสอบระบบได้เสร็จสิ้นแล้ว ก่อนที่จะทำการติดตั้งใช้งานโปรแกรมในระบบจริง ต้องทำการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบให้เกิดความมั่นใจในการใช้ระบบงานใหม่
                                2.4.4 การทำให้เกิดผล เป็นขั้นตอนหลังจากที่ได้ทำการทดสอบระบบและฝึกอบรมผู้ใช้ ทั้งมั่นใจได้ว่าระบบทำงานได้ตรงความต้องการของผู้ใช้ จึงดำเนินการติดตั้งระบบต่อไปโดยขั้นตอนปลีกย่อยของการทำให้เกิดผล มีดังนี้                                               
1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะติดตั้ง
                                                2. เตรียมอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ให้พร้อม
                                                3. เตรียมทีมงานผู้เชี่ยวชาญและฝ่ายสนับสุนนเทคนิค
                                                4. ลงซอฟแวร์ต่างๆ ให้ครบถ้วน
                                                5. ดำเนินการใช้ระบบใหม่
                                                6. จัดเตรียมเอกสารประกอบระบบและคู่มือการใช้งาน
                                2.4.5 การประเมินผลระบบ  หลังจากที่มีการติดตั้งระบบต้องทำการประเมินผลระบบที่ใช้ว่าระบบทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องประเมินประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ของระบบและผลกระทบต่อองค์การ ทัศคติของผู้ใช้และผู้บริหาร ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ ชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ซึ่งทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเอกสารประกอบระบบ และเอกสารของการฝึกอบรมผู้ใช้
                                2.5 การสนับสนุนระบบ เป็นการติดตามดูแลการปฏิบัติงาน ผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากการใช้ระบบใหม่ ซึ่งอาจพบความต้องการปรับปรุงและแก้ไขระบบหลังติดตั้งใช้งานแล้ว หรือพบปัญหาของโปรแกรมต้องรีบทำการแก้ไขให้ถูกต้อง หรือมีการเพิ่มมอดูลการทำงานในส่วนที่เคยตกลงกันก่อนหน้านี้แล้ว โดยขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบ มีดังนี้
                                1. การแก้ไขโปรแกรม ต้องทำการแก้ไขทันทีที่พบข้อผิดพลาด
                                2. การขยายระบบโดยเพิ่มเติมมอดูลและอุปกรณ์เท่าทีจำเป็น
                                3. การบำรุงรักษา ทั้งด้านซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์
3. วิศวกรรมสารสนเทศ   เป็นวิธีที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์มากกว่าการพัฒนาระบบตามขั้นตอนของวัฏจักรการพัฒนาระบบมักนำมาใช้ร่วมกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่างที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
                3.1 การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศ คือ การกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาระบบและกำหนดถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ มุ่งการค้นหาหน้าที่งานหลักและสารสนเทศที่ใช้ภายในองค์การ ตลอดจนความต้องการสารสเทศเพิ่มเติมเพื่อใช้สนับสนุนการสร้างโอกาสของธุรกิจ
                3.2 การวิเคราะห์ส่วนของธุรกิจ  ต้องศึกษาและวิเคราะห์เพื่อแยกหน้าที่รวมออกเป็นส่วน ๆ เพื่อกำหนดถึงข้อมูลกระบวนการและความสัมพันธ์ของกระบวนการและข้อมูล พร้อมทั้งกำหนดขอบงานของระบบสารสนเทศ เป็นการพัฒนาแยกทีละระบบ แต่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3.3 การออกแบบระบบ เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 และ 2 มากำหนดรูปแบบระบบใหม่ที่จะพัฒนาขึ้น อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ใช้ระบบ มีการใช้เครื่องมือช่วยออกแบอัตโนมัติเพื่อให้งานสะดวกและรวดเร็วขึ้น
                3.4 การสร้างระบบ เป็นการพัฒนาชุดคำสั่งจากโครงสร้างระบบ ผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 3 อาจใช้เครื่องมือช่วยสร้างชุดคำสั่งอัตโนมัติ เพื่อประหยัดเวลาและลดข้อผิดพลาดในการเขียนชุดคำสั่ง ระบบใหม่ที่เป็นผลลัพธ์น่าจะมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และเป็นระบบย่อยของแต่ละส่วนธุรกิจที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ  ต้องคำนึงถึงปัจจัย 3 ปัจจัยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ ดังนี้
                4.1 กลยุทธ์ของธุรกิจ  ควรทำการกำหนดกิจกรรมการทำงานของระบบสารสนเทศให้มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จตามความคาดหวังของธุรกิจ และเป็นการเพิ่มกระบวนการควบคุมและตรวจสอบอย่างเหมาะสม
                4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลกระทบที่มักเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                4.3 วัฒนธรรมองค์การ  อาจมีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ขึ้น เช่น การกระจายอำนาจของการตัดสินใจ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องออกแบบให้มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์การ เพื่อการยอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติตามระบบของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
                นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีประมวลผลของระบบ การใช้เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลเป็นการนำเสนอองค์ประกอบของข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูลกระบวนการและหน่วยงานที่เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของข้อมูล โดยใช้สัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้เข้าใจได้และเขียนในลักษณะของรูปภาพหรือแผนภูมิ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทางเดินของข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในระบบตัวอย่างแผนภาพดังนี้
1. สัญลักษณ์ที่ใช้สร้างแผนภาพ   นิยมใช้สัญลักษณ์ที่ถูกคิดค้นโดย 2 กลุ่มบุคคลซึ่งนำมากำหนดเป็นมาตรฐานแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้
                1. มาตรฐานของเกนและซาร์สัน
                2. มาตรฐานของดีมาร์โคและโยร์ดอน
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสร้างแผนภาพกระแสข้อมูลประกอบด้วย 4 ส่วนประกอบ คือ กระบวนการ กระแสข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูล และหน่วยงานหรือเอนทิตีภายนอก
2. ระดับของแผนภาพ จะไม่มีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
                ระดับที่ 1 แผนภาพบริบท คือ โครงสร้างเริ่มแรกแสดงให้เห็นภาพรวมและขอบเขตของระบบงาน เริ่มต้นจากการวางสัญลักษณ์ของหนึ่งกระบวนการที่ใช้แทนระบบงานทั้งระบบไว้กลางหน้ากระดาษ และวางสัญลักษณ์ของเอนทิตีภายนอกสัญลักษณ์กระแสข้อมูลรับเข้าและส่งออกจากกระบวนการ ต้องเขียนให้อยู่ภายในหนึ่งหน้ากระดาษเท่านั้น การตั้งชื่อย่อประกอบด้วยสัญลักษณ์เอนทิตีภายนอกและกระแสข้อมูล ควรใช้ชื่อเดียวกันในแผนภาพทุกระดับและหลีกเลี่ยงการลากเส้นของกระแสข้อมูลตัดกัน โดยหมายเลขอ้างอิงของแต่ละกระบวนการจะต้องไม่ซ้ำกันภายในแผนภาพบริบทจะใช้หมายเลข 0 กำกับกระบวนการ
                ระดับที่ 2 แผนภาพระดับหนึ่ง คือ โครงสร้างที่ใช้อธิบายในรายละเอียดของแผนภาพบริบทที่เปรียบเสมือนกล่องดำ เป็นการนำกระบวนการหลักมาขยายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น แต่อาจมีการเพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนหน่วยเก็บข้อมูลและกระแสข้อมูลที่เพิ่มเติมขึ้น สำหรับกระแสข้อมูลที่เป็นทั้งกระแสนำเข้าและนำออก ใช้สัญลักษณ์ของหัวลูกศร 2 ทิศทางก็ได้ ซึ่งมีการแตกรายละเอียดกระบวนการหมายเลข 0 ของแผนภาพบริบทจะใช้หมายเลขอ้างอิงตั้งแต่หมายเลข 1.0 ขึ้นไป โดยแสดงถึงลำดับขั้นตอนของระบบ ทั้งยังแสดงถึงกระบวนการหน่วยย่อย สามารถนำไปใช้เขียนระบบได้
                ระดับที่ 3 แผนภาพระดับสอง  คือ โครงสร้างที่ใช้อธิบายในรายละเอียดของแผนภาพระดับหนึ่ง มีการนำกระบวนการทั้งหมดของแผนภาพระดับหนึ่งมาขยายรายละเอียดให้ชัดเจยิ่งขึ้นในแต่ละกระบวนการ ซึ่งจำนวนแผนภาพระดับสองอาจมีความสอดคล้องกับจำนวนกระบวนการหน่วยย่อยในแผนภาพระดับหนึ่งจะใช้ลักษณะของตัวเลขทศนิยม 1 ตำแหน่ง
3. ตัวอย่างแผนภาพ
                ใช้สัญลักษณ์มาตรฐานของเกนและซาร์สันในส่วนการคำนวณเงินได้ของพนักงานในส่วนของค่าล่วงเวลาตามกระบวนการย่อยต่างๆ พร้อมทั้งส่งออกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน
                เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาระบบผู้ใช้ระบบ ให้มีความเข้าใจตรงกันถึงระบบที่กำลังเป็นเป้าหมายของการพัฒนา ใช้แสดงทิศทางของกระแสงานที่เกิดขึ้นภายในระบบ ทั้งในส่วนของต้นทางข้อมูล กระบวนการ และหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อนำส่งต่อผู้รับสารสนเทศ
                ในการเขียนแผนภาพกระแสงานสามารถใช้สัญลักษณ์และสัญรูปใดๆ ก็ได้ที่สื่อถึงความหมายของผู้รับอาจเขียนในลักษณะของระบบ คือเริ่มจากข้อมูลรับเข้าไปสู่กระบวนการและไปสู่ข้อมูลส่งออก เพื่อง่ายต่อการใช้วิเคราะห์กระแสงานที่เกิดขึ้นภายในระบบ
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ผู้บริหารจะต้องมีการวางแผน จัดการ และควบคุมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังต้องมีความเข้าใจถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แนวคิด  ระบบสารสนเทศมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจในส่วนของการช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจมีความอยู่รอดในอนาคต นอกจากนี้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการ มีการนำหุ่นยนตร์มาใช้ในกระบวนการผลิต มีการขยายตัวของธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนทั้งในส่วนระบบฮาร์ดแวร์ และระบบประยุกต์ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์
2. กระบวนการจัดการประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
                2.1 การวางแผน ต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์การโดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ
                2.2 การจัดโครงสร้าง  อาจอยู่ในรูปแบบของศูนย์คอมพิวเตอร์หรือฝ่ายระบบสารสนเทศ มีการกำหนดตัวผู้บริหารระดับสูงให้ดำรงตำแหน่งระดับ ซีไอโอ เพื่อควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2.3 การจัดลำดับงาน  สำหรับแต่ละระบบที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาระบบ มักมีความสำคัญแตกต่างกันจำเป็นต้องจัดลำดับก่อนหลังของระบบที่ต้องการพัฒนาตามความจำเป็นเร่งด่วน
                2.4 การควบคุม  สำหรับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นเป้าหมายของการควบคุมดูแลประกอบด้วยมาตรฐานของอุปกรณ์ การพัฒนาระบบ การปฏิบัติการ ความมั่นคงของระบบ รวมทั้งการงบประมาณในส่วนของการจัดหาระบบสารสนเทศ
                2.5 การสั่งการ  ครอบคลุมถึงงานทุกด้านของระบบสารสนเทศ ภายใต้การสั่งการของผู้บริหารซึ่งปราศจากอุปสรรคใดๆ เป็นงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์ความสามารถด้านการสื่อสารของผู้บริหารอย่างแท้จริง
                2.6 การรายงาน  เป็นหน้าที่ของหน่วยงานสารสนเทศในการจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติงาน
                2.7 การจัดทำงบประมาณ  การคาดคะเนค่าใช้จ่ายเพื่อทำการเสนอของบประมาณค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ หลังจากนั้นจึงควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งไว้
3. การจัดการทรัพยากรฮาร์ดแวร์
                ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้จักอุปกรณ์ทุกชนิดที่นำมาใช้เพื่อสามารถบริหารการใช้ทรัพยากรได้อย่างถูกต้อง โดเฉพาะอุปกรณ์ด้านเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ ต้องมีการประมาณความจุที่เหมาะสมจึงมีการใช้ระบบงานแบบออนไลน์ เพื่อสนองตอบความต้องการใช้ข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ต้องมีการวางแผนเพื่อขยายความจุของระบบ พิจารณาความจุของข้อมูลและผู้ให้บริการด้านซอฟแวร์ในอนาคต ตลอดจนมีการติดตามแนวโน้มวามเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
4. การจัดการทรัพยากรซอฟแวร์
                หมายถึงซอฟแวร์ระบบและซอฟแวร์ระบบประยุกต์ตลอดจนซอฟแวร์ของระบบสื่อสาร ปกติมูลค่าการลงทุนด้านซอฟแวร์จะสูงกว่ามูลค่าการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์เป็นสองเท่า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้านซอฟแวร์แบบออนไลน์ทั้งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายส่วนตัวที่เรียกว่า เอเอสพี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้บริการ คือ ผู้ใช้มักจะได้ซอฟแวร์และระบบสารสนเทศที่ทันสมัยอยู่เสมอ
5. การจัดการทรัพยากรข้อมูล
                ธุรกิจจะจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ต้องอาศัยซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือช่วยในส่วนของการจัดเก็บค้นคืนและควบคุมการบูรณภาพข้อมูล ปัจจุบันเทคโนโลยีฐานข้อมูลกำลังเปลี่ยนแปลงจากฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เข้าสู่รูปแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ มีการสร้างรูปแบบของฐานข้อมูลหลายมิติ เพื่อช่วยงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่างๆ ร่วมกับซอฟแวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตรงและมักจะนำมาใช้ในงาด้านการตลาด โดยการสร้างโกดังข้อมูล  นอกจากนี้ยังมีการจัดระบบข้อมูลบนเว็บโดยใช้ฐานข้อมูลไฮเปอร์มีเดียรวมทั้งมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขององค์การเข้ากับฐานข้อมูลบนเว็บ อาจใช้โปรแกรมค้นดูเว็บเป็นเครื่องมือช่วยลูกค้าค้นหารายการสินค้าที่ต้องการจากฐานข้อมูลขององค์การได้
6. การจัดการทรัพยากรระบบสื่อสารและเครือข่าย
                เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ ควรคำนึงถึงการเลือกช่องทางการสื่อสารทั้งชนิดใช้สายและไร้สายรวมทั้งความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล โทโพโลยี ของระบบเครือข่ายขอบเขตการใช้งานของระบบเครือข่าย ปัจจุบันมีผู้ให้บริการระบบเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม โดยบริการให้เช่าเครือข่ายส่วนตัวเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลขององค์การกับองค์การอื่นโดยใช้ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจในด้านการจัดการทรัพยากรสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รวมทั้งเลือกใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
โครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
                1. หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ คือหน่วยงานที่หน้าที่ศึกษา วิเคราะห์พัฒนา และออกแบบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ ตอบสนองความต้องการของธุรกิจและผู้ใช้สารสนเทศ โดยนำปัญหาจากระบบงานเดิม ความต้องการของผู้ใช้ งบประมาณที่สนับสนุนการพัฒนาระบบ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศที่เลือกใช้ภายในระบบมาพิจารณาร่วมกัน
                2. หน่วยเขียนชุดคำสั่ง คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่นำโครงร่างของการออกแบบระบบงานใหม่ มาทำการพัฒนาชุดคำสั่งเพื่อใช้งานในระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ แยกออกเป็น 2 ประเภทคือ ชุดคำสั่งของระบบและชุดคำสั่งของระบบประยุกต์
                3. หน่วยปฏิบัติการและบริการ คือ หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมและจัดการส่วนฮาร์ดแวร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บุคลากรด้านสารสนเทศ
1. หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ คือ ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารสารสนเทศและมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการวางแผน การกำหนดนโยบาย การควบคุมการปฏิบัติงาน ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานต่างๆ
2. นักวิเคราะห์ระบบ คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบประยุกต์ใช้งานในองค์กร เป็นเป้าหมายของการพัฒนาควรตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์การและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ตลอดจนทำการวางแผนในระยะยาว เพื่อการนำระบบประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ภายใต้การทำงานของระบบใหม่
3. ผู้เขียนชุดคำสั่ง คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่งเพื่อการควบคุมงานที่ปฏิบัติในระบบต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้เขียนชุดคำสั่งของระบบและผู้เขียนชุดคำสั่งประยุกต์ใช้งาน
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่ดูแลควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นอย่างดี โดยทำการวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขการหยุดชะงักของระบบได้
5. ผู้จัดตารางเวลา คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่จัดสรรเวลาใช้เครื่องให้กับงานแต่ละงาน เพื่อให้การใช้เวลาในการประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีความรู้และความเข้าใจในลักษณะงานและการทำงานด้านการประมวลผลข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
6. บรรณารักษ์ คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่เก็บรักษาสื่อบันทึกซึ่งใช้จัดเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งระบบงานมีการจัดทำรายงาน และดรรชนี เพื่อช่วยให้การค้นหาข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วควรจัดเก็บสื่อในที่ปลอดภัยเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านข้อมูล
7. พนักงานบันทึกข้อมูล คือ บุคลากรผู้ทำหน้าที่นำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้นมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549