วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 11
ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหาร
(Information Systems for Managerial Decision Support)

กรณีศึกษาจริง
Parsons Brinckhoff: ระบบอินทราเน็ตที่ว่า ระบบสารสนเทศของทุกๆคน
การทำงานร่วมกันของระบบอินทราเน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้กล่าวได้ว่า ระบบสารสนเทศของทุกๆคน” (Everyone’s Information System) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง
Parsons Brinckhoff (www.pbworld.com) มีการแข่งขันโครงการวิศวกรรมร่วมกับบริษัททางวิศวกรรมอื่นๆทั่วโลก ประสิทธิภาพของเครื่องมือค้นหาในระบบอินทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มการคืนทุน (Return on Investment : ROI) ให้กับพวกเขา และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตภายในบริษัท The Fulcrum Knowledge Network Search Engine ได้ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือในการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ
บริษัทตั้งอยู่ที่ New York มานานกว่า 112 ปี มีทีมงานวิศวกรกว่า 5,300 คน ใน 150 สาขาทั่วโลก โครงการของบริษัทประกอบไปด้วยการจัดการสิ่งก่อสร้างใหม่ราคา 1.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นถนนขนาด 12 เลนส์ที่อยู่ในเมือง Salt Lake City และมีการจัดการให้คำปรึกษาสำหรับโครงการปรับปรุงถนนที่อยู่ในตัวเมือง คือ เส้นทางหลักในกลางเมือง Boston และโครงการสร้างอุโมงค์ ซึ่งขนานนามว่า “Big Dig“
ในตอนนี้ บริษัทได้สร้างแบบจำลองที่ปรับปรุงจากการออกแบบสะพานในครั้งก่อน ซึ่งจะเชื่อมระหว่าง Boston กับชานเมืองทางตอนเหนือ แต่การออกแบบต้นแบบนั้นต้องพบกับการต่อต้านจากชุมชน แต่ด้วย The Fulcrum Knowledge Network ทำให้บริษัทสามารถนำตัววิศวกรที่มีความชำนาญด้านสิ่งก่อสร้างเข้ามาร่วมในการออกแบบสะพานในรูปแบบใหม่
บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ (Practice Area Networks : PANs) โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงงานของบริษัทและโครงการทางวิศวกรรมต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา โดยใช้ซอฟต์แวร์ Fulcrum และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล Oracle
หลังจากที่ได้มีการสนทนาและโต้เถียงกันเป็นเวลานานระหว่างวิศวกรและผู้บริหารในบริษัทโดยผ่าน Fulcrum ที่ใช้เป็นเครื่องมือค้นหาและเครื่องมือภายในกลุ่ม ผลที่ได้คือ สะพานแขวนขนาด 10 ช่องทางที่ออกแบบโดยบริษัท ซึ่งสะพานดังกล่าวไม่เพียงจะสวยงาม แต่ยังช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนนภายในเมือง Boston ได้อีกด้วย ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คำถามจากกรณีศึกษา
1.             ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น ระบบสารสนเทศของทุกๆ คน
2.             อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
3.             อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
 ที่มา : http://www.spu.ac.th/~ktm/index12.html
ตอบคำถาม
 
1.     1.   เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้เกิดระบบการสื่อสารง่ายยิ่งขึ้นและมีความสะดวกมากกว่าในอดีต ซึ่งในการทำงานก็มีความเหมือนกันเนื่องจากทุกคนต้องมีการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันในการทำงาน  ดังนั้นทุกๆองค์กรจึงมีการใช้ระบบสารสนเทศมาใช้ในการทำงานมากขึ้น
2.     2.  แนวคิดที่ได้จากระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาของ Futcrun คือ การที่บริษัทสามารถนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการทำธุรกิจในรูปแบบของการติดต่อสื่อสารผ่านเครื่องมือ Futcrun คือ การติดต่อหรือการสนทนาแบบออนไลน์
3.      3. ช่วยในการติดต่อสื่อสารหาข้อมูลให้มีความสะดวกมากขึ้นและช่วยในการออกแบบการสร้างสะพานให้มีความง่ายยิ่งขึ้น