วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 6 ระบบสารสนเทศทางการผลิต
แนวคิดและความหมาย
                O brien (2005, p.240) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนหน้าที่งานด้านการผลิตและดำเนินงาน กิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดระบบการผลิตของธุรกิจ จำเป็นต้องมีการประมวลผลธุรกรรมด้านการผลิตและดำเนินงานในส่วนของการวางแผน การติดตามดูแล การควบคุมสินค้าคงเหลือ การจัดซื้อ รวมทั้งกระแสไหลเข้าออกของสินค้าหรือบริการ มีการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศทางการผลิตเข้ากับระบบสารสนเทศของธุรกิจขนส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก สถาบันการเงินและธุรกิจซึ่งให้บริการประเภทต่างๆ
                Laudon and laudon (2005, p. 51) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการผลิต หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านการผลิตสินค้าหรือบริการ การวางแผนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการผลิตในส่วนของการจัดหา การจัดเก็บ และการดำรงวัตถุดิบในการผลิต สามารถจำแนกระบบออกเป็น 3ส่วนย่อยดังนี้
                ประเภทที่1 ระบบในระดับกลยุทธ์ มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายการผลิตในระยะยาว
                ประเภทที่ 2 ระบบในระดับบริหารหรือกลวิธี
                ประเภทที่ 3 ระบบในระดับปฏิบัติการ
การจัดการผลิตและดำเนินงาน
                กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การถือเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาดเป็นไปได้อย่างราบรื่น มีการตอบสนองเป้าหมายสำคัญทางการผลิต คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว จัดออกเป็น 6 หัวข้อ คือ


1.แนวคิดและความหมาย
                การผลิตและการดำเนินงาน คือ การนำทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านแรงงานและเงินทุน เครื่องจัก เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา เรียกว่า ปัจจัยการผลิต โดยผ่านกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ (สุมน มาลาสิทธ์, 2548 หน้า 5)
                กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับปัจจัยการผลิตเพื่อเข้าสู่รูปแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้า ในแต่ละกระบวนการผลิตประกอบด้วยกระบวนการผลิตย่อยหลายกระบวนการ มักมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน(ริทแมน และกาจิวสกี , 2548, หน้า 2)
ทั้ง2 ความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า กระบวนการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงาน เพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของระบบการผลิตนั่นเอง ดังนั้น หากปัจจัยการผลิตของธุรกิจประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์ทั้งถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตด้วย
                ในส่วนกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปปัจจัยการผลิตต่างๆ เป็นผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบระบบการดำเนินงานการวางแผนและจัดโครงสร้างการผลิตและดำเนินงาน ตลอดจนการควบคุมการผลิตและดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จะเห็นได้ว่าการจัดการการผลิตและดำเนินงานที่ดีของธุรกิจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์การและช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย
2. วิวัฒนาการผลิต
                ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง มีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบมีการสร้างระบบข้อมูลที่ใช้ติดตามรอยการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ทำให้ทราบถึงระดับสินค้าคงเหลือแต่ละรายการ สำหรับงานการผลิตที่เร่งรีบมักจะมีราคาแพง และทางเลือกของการสั่งผลิตยังมีจำกัด ต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยการนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้และใช้วิธีการผลิตตามคำสั่งมาแทนที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง


3. กลยุทธ์การผลิตและดำเนินงาน
สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์การต้องอาศัยความร่วมมือจากแผนกการตลาดและการผลิตที่จะทำการค้นหาความต้องการของลูกค้าและนำมากำหนดเป็นความได้เปรียบทางการผลิต เพื่อธุรกิจจะสามารถรักษาลำดับสำคัญทางการแข่งขัน ทั้งในด้านการผลิตต้นทุนที่ต่ำ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและมีการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีความรวดเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีการส่งมอบสินค้าและบริการที่รวดเร็วและตรงต่อเวลา ซึ่งริทแมนและกราจิวสกีจำแนกกลยุทธ์การผลิตเป็น 3 กลยุทธ์ดังนี้
                กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง
                กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง
                กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง
4. หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
                หัวใจสำคัญของธุรกิจประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดผลผลิตในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ จัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้านคือ หน้าที่ด้านการผลิต ซึ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการของลูกค้าเป็นหลักและอีกหน้าที่หนึ่ง คือ หน้าที่ด้านโรงงาน เน้นความสามารถด้านการรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ต้องคำนึงถึงการลดต้นทุนสินค้าหรือบริการ การเพิ่มคุณภาพการผลิต การจัดส่งสินค้าที่ตรงเวลา ตลอดจนมีความยืดหยุ่นทางการผลิต โดยแบ่งได้ดังนี้
                4.1 การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์
                4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต
                4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน
                4.4 การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน
                4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ
                4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า
4.7 การลดต้นทุนการผลิต
4.8 การขจัดความสูญเปล่า
4.9 ความปลอด ภัยในโรงงาน
4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต
4.11 การบำรุงรักษา
4.12 การประสานงานกับหน่วยงานอื่น
5. การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
                ฐาปนา บุญหล้า (2548 หน้า 4 , 9) นิยามความหมายของ การจัดการโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ไว้ดังนี้
                การจัดการโซ่อุปทาน หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการด้านการวางแผน การจัดหา การผลิต การจัดส่ง และการคืนสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับ ตลอดจนวางแนวทางด้านกลยุทธ์ด้านการปฏิบัติการขององค์การ ก่อให้เกิดการไหลของสินค้า งาน ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะลดต้นทุนรวมให้ต่ำที่สุด สร้างความพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค
                การจัดการโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน คือ การวางแผน การปฏิบัติงานและการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นประสิทธิผลการไหลของสินค้า การจัดเก็บสินค้า การบริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
6. ระบบการผลิตยุคใหม่
การประยุกต์ใช้แนวคิดทางการผลิตอย่างได้ผล และยังเป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการผลิตและดำเนินงานในปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีและระบบการผลิตแบบลีน ดังนี้
6.1 ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ซึ่งยึดหลักการสำคัญ คือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดโดยโครงสร้างของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี มีดังนี้
6.1.1 กรรมวิธีการผลิต 3 ประการ คือ
                1. การปรับเรียบการผลิต
                2. การออกแบบเครื่องมือและวิธีการผลิต
                3. สร้างมาตรฐานของงาน
                6.1.2 ระบบข้อมูลผลิต มีการนำแผ่นป้ายกันบังมาใช้ในสำหรับการสื่อสารการผลิตระหว่างหน้าที่งานภายในโรงงาน
                ในส่วนผลที่ได้รับในการประยุกต์การใช้ระยุกต์การผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ การเพิ่มคุณภาพสินค้าและลดของเสียระหว่างผลิตให้น้อยลง จูงใจพนักงานให้ปรับปรุงงานผลิตอย่างเต็มความสามารถ ลดต้นทุนแรงงานของการผลิตเกินความจำเป็น
                6.2 ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำให้เกิดมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพสูง มุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมาจากทั้งด้านคุณภาพ การจัดส่งสินค้าบริการแก่ลูกค้าซึ่งพัฒนามาจากการผลิตแบบโตโยต้า ซึ่งนิพนธ์ บัวแก้ว ได้ระบุหลักการของลีน 5 ข้อดังนี้
                6.2.1 การระบุคุณค่าของสินค้าและบริการ
                6.2.2 การแสดงสายธารคุณค่า
                6.2.3 การทำให้เกิดการไหลของคุณค่าอย่างต่อเนื่อง
                6.2.4 การให้ลูกค้าเป็นผู้ดึงคุณค่าจากกระบวนการ
                6.2.5 การสร้างคุณค่าและกำจัดความสูญเปล่าอย่างต่อเนื่อง
สารสนเทศทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการผลิต ต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศจากภายในและภายนอกองค์การ
2. การจำแนกประเภทจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
                2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการดำเนินการผลิตในส่วนต่างๆ ดังนี้
                                2.1.1 สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต
                                2.1.2 สารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ
                                2.1.3 สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา
                2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการวางแผนและจัดการผลิตดังนี้
                                2.2.1 สารสนเทศด้านออกแบบการผลิต
                                2.2.2 สารสนเทศด้านวางแผนการผลิต
                                2.2.3 สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์
                                2.2.4 สารสนเทศด้านการควบคุมการผลิต
                2.3.สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
                                2.3.1 สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
2.3.2 สารสนเทศด้านผู้ขนส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบออกแบบการผลิต  ต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนเริ่มงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิต ซึ่งระบบออกแบบการผลิต คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงหน้าที่ด้านการออกแบบในส่วนของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิต คำนึงถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ดี จำแนกได้ 2 กระบวนการ ดังนี้
                1.1 การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น การสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายการตลาดในการดำเนินการวิจัยตลาด
                การจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งซึ่งยินยอมให้ผู้ผลิตและผู้ขายวัสดุ สามารถควบคุมและแบ่งปันการใช้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในส่วนของงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และความพยายามที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการให้ความสนับสนุนด้านการปฏิบัติการในโซ่อุปทาน
                1.2 การออกแบบระบบการผลิต Turban et al. (2006, p. 258) ได้ยกตัวอย่างการออกแบบดังนี้
                                1. การผลิตรถยนต์ของบริษัทโตโยต้า จำกัด เป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีร่วมกับระบบการผลิตแบบหยุดอัตโนมัติได้รับผลประโยชน์จากการลดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์จาก 15 วัน เหลือเพียง 1 วัน
                                2. แบบจำลองสายการผลิตคอมพิวเตอร์ของบริษัท เดลล์ คอมพิวเตอร์ จะเป็นไปในลักษณะของการรอรับคำสั่งซื้อของลูกค้าและมีการจัดหาส่วนประกอบและชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ระบบควบคุมการผลิต จะเน้นถึงการควบคุมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยใช้สารสนเทศทางการผลิตบางส่วน เช่น คำสั่งซื้อของลูกค้า สถานภาพการผลิตของแต่ละสถานีผลิต เพื่อตรวจสอบดูความก้าวหน้าของการผลิตเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยควบคุมการผลิต นอกจากนี้ในบางธุรกิจอาจใช้วิธีการบริหารโครงการเป็นเครื่องมือช่วยควบคุมการผลิต แบ่งได้ 4 ส่วนดังนี้
                5.1 การควบคุมปฏิบัติการการผลิต การติดตามผลปฏิบัติการผลิตภายในโรงงาน มีการใช้ระบบสารสนเทศด้านการปฏิบัติการการผลิตเพื่อติดตามการดำเนินร่องรอยการดำเนินการผลิตและการควบคุมองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ซึ่งก็คือ วัตถุดิบ อุปกรณ์ แรงงาน คำสั่งผลิต รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทางการผลิต
                5.2 การควบคุมคุณภาพ เป็นความพยายามส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ควบคุมคุณภาพโดยรวมทั้งองค์การโดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วนที่จัดหามาให้ ตลอดจนคุณภาพของสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่อยู่ระหว่างการผลิตและคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จแล้ว โดยใช้ระบบเมตริก เป็นระบบการบันทึกผลลัพธ์จากการตรวจสอบคุณภาพและเปรียบเทียบผลจากมาตรฐานกับผลที่เกิดขึ้นจริง ในการเก็บรวบรวมสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพ ทำได้โดยการพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศบนเว็บซึ่งจะแปลความหมายในทีนทีที่ต้องการหรือมีการจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ในอนาคตและมีระบบการรวบรวมข้อมูลและผลิตรายงานประจำงวดเพื่อแสดงเปอร์เซ็นต์ของเสียระหว่างผลิตและเปอร์เซ็นต์ของงานที่ต้องการดำเนินการใหม่
                5.3 การควบคุมต้นทุน ต้นทุนค่าวัสดุค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ยังมีการเกิดต้นทุนที่สำคัญส่วนอื่น เช่น ต้นทุนด้านการจัดหาวัตถุดิบ ต้นทุนด้านการควบคุมคุณภาพ ต้นทุนของเสียระหว่างการผลิต และต้นทุนการบำรุงรักษา ดังนั้น ในระบบการผลิตจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมต้นทุนเพื่อมิให้บานปลายออกเกินความจำเป็น
                5.4 การบำรุงรักษา คือ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์การผลิตให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการทำงานและเป็นการรักษาความปลดภัยในการทำงานด้วย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การซ่อมบำรุงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการชำรุดและการซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุดแล้ว
เทคโนโลยีทางการผลิต
1.โปรแกรมสำเร็จรูปทางการผลิต คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลสารสนเทศทางการผลิตและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ แบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้
1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการโลจิสติกส์ คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อการทำกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนการเชื่อมโยงกับระบบประมวลผลคำสั่งซื้อ
1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านควบคุมสินค้าคงเหลือ คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอำนวยความสะดวกด้านการควบคุมสินค้าคงเหลือ มีการประยุกต์ใช้ตัวแบบสินค้าคงเหลือโดยอัตโนมัติ อีกทั้งมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจบนเว็บ ทำให้องค์การสามารถปรับปรุงงานด้านการจัดการและทำการเติมเต็มสินค้าในคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนความต้องการวัสดุ คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอำนวยความสะดวกต่อการวางแผนด้านการจัดหาชิ้นส่วน วัสดุและส่วนประกอบย่อยของเครื่องจักร เป็นรายการที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของหลายผลิตภัณฑ์และหลายส่วนประกอบ
1.4 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนทรัพยากรด้านการผลิต คือ ซอฟแวร์ที่พัฒนามาจากโปรแกรมสำเร็จรูปด้านวางแผนความต้องการวัสดุ มีฟังก์ชันสนับสนุนการทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่น ในส่วนการอิวัอกรายงาน ทั้งยังมีวัฒนาการของระบบวางแผนทรัพยากรการผลิต ขยายตัวไปสู่ระบบวางแผนทรัพยากรณ์องค์กรอีกด้วย
1.5 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการผลิตแบบทันเลาทันที คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาซอฟแวร์จากผู้ขายซอฟแวร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ โดยมุ่งเน้นถึงเป้าหมายในด้านการลดสูญเสียทรัพยากรผลิตให้น้อยที่สุดและยังมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น
2. การใช้หุ่นยนต์
                บางโรงงานอุตสาหกรรมอาจมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยงานด้านการกระจายและการจัดการวัสดุในโกดังสินค้าขนาดใหญ่ หรือ มีการใช้หุ่นยนต์ช่วยงานด้านการนำออกวัสดุและชิ้นส่วนหน่วยเก็บสินค้าในเวลาต้องการ
3. การใช้รหัสแท่ง
สัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่ง คือ แท่งที่มีสีเข้มและช่องว่างที่มีสีอ่อน แท่งเหล่านี้จะเป็นตัวแทนของตัวเลขหรือตัวอักษรและสามารถอ่านข้อมูลที่เก็บในรหัสแท่งด้วยเครื่องกราดตรวจ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูล เมื่อมีธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้นระบบจะจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ
4.การใช้อินเทอร์เน็ต
                ปัจจุบันธุรกิจมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บพื้นฐานเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการผลิตและดำเนินงาน เพื่อช่วยเสริมการทำงานของระบบสารสนเทศทางการา
                4.1 ระบบการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ใช้ออกแบบผลิตจักรยาน มีการรวมตัวของกลุ่มทีมงานโปนเจ็กลิงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และสามารถออกแบบต้นแบบจักรยานยุค 2003 ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่าตัว
                4.2 ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ ใช้สนับสนุนกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ขาเข้าในส่วนการจัดหาวัสดุจากผู้ขายวัสดุ โดยการเทคโนโลยีเสียงและเครื่องกราดตรวจร่วมกับระบบสื่อสารแบบไร้สายเพื่อสนับสนุนงานด้านการตรวจรับวัสดุจากผู้ขาย
                4.3 ระบบสารสนเทศด้านควบคุมคุณภาพบนเว็บ มีการพัฒนาขึ้นโดยผู้ขายซอฟแวร์หลายราย สำหรับการคำนวณผลการปฏิบัติการตามมาตรฐาน
                4.4 ระบบสารสนเทศด้านบริหารโครงการบนเว็บ โดยมุ่งเน้นที่การปรับระบบการจัดสรรทรัพยากรและการตัดสินใจ การใช้ซอฟแวร์พิเศษเพื่อประมาณการต้นทุน รวมทั้งการใช้ซอฟแวร์ช่วยบริหารโครงการในระบบออนไลน์
                4.5 ระบบสารสนเทศด้านจัดตารางการทำงานของลูกจ้างบนเว็บ สำนักงานดีโปต์ได้พัฒนาระบบสารสนเทศนี้เพื่อช่วยงานด้านการวางแผนและจัดตารางการผลิต การจัดสรรแรงงาน เพื่อผลประโยชน์ด้านลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
                4.6 ระบบสารสนเทศด้านจัดการสินค้าโกดังบนเว็บ ได้พัฒนาระบบสารสนเทศด้านจัดการโกดังสินค้าเพื่อปรับการพยากรณ์การผลิตและปรับกระบวนการจัดการสินค้าคงเหลือที่ดีขึ้น

5. การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
                การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หรือแคด คือระบบที่ช่วยสนับสนุนการออกแบบทางวิศวกรรมของส่วนประกอบผลิตภัณฑ์อาจอยู่ในรูปแบบคำสั่งให้ชิ้นส่วนทำงาน กระบวนการออกแบบจะคำนึงถึงความคิดเห็นของลูกค้ามากขึ้นมีการใช้แคดเพื่อสร้างแบบจำลองผลิตภัณฑ์และทำการทดลองประสิทธิภาพของแบบจำลองนั้น อีกทั้งยังประเมินต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากปรกติก่อนที่จะดำเนินการผลิตจริง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากงานด้านการออกแบบเพื่อบ่งบอกถึงปัญหาที่มีอยู่ของผลิตภัณฑ์ และช่วยสนับสนุนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
6. การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
                การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหรือแคม คือ ระบบควบคุมและกระชับกระบวนการผลิตอัตโนมัติ มักใช้ทำงานร่วมกับแคด มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยติดตามดูแลและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงาน ทั้งยังมีการตั้งโปรแกรมวิเคราะห์งานประจำวัน เพื่อทดสอบข้อขัดแย้งของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การผลิตหรืออาจมีการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยเลียนแบบการทำงานของมนุษย์
7. ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น
                ระบบที่รองรับการเปลี่ยนแปลงคำสั่งการผลิตของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาจจะเป็นการเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์หนึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งหรือมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุการผลิต ในขณะที่เครื่องจักรยังดำเนินการผลิตอยู่ ช่วยลดเวลาจากสายงานผลิตที่ส่งผลให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการของตลาดและการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว
8. การผลิตแบบผสมผสานด้วยคอมพิวเตอร์
                หรือ ซิม คือ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงส่วนประกอบของกระบวนการผลิตเข้าด้วยกัน มุ่งเน้นเป้าหมายในด้านการเชื่อมต่อกระบวนการผลิตและกระบวนการประมวลผลคำสั่งซื้อ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการขนส่ง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการประสานการดำเนินการของหน่วยผลิตต่างๆ อีกทั้งยังใช้ซิมเพื่อบูรณาการระบบย่อยต่างๆ ขององค์การเข้าด้วยกัน
                ระบบสารสนเทศทางการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นระบบบนเว็บสามารถสนับสนุนการใช้ซิม ดังนี้
1.            เป็นระบบอย่างง่าย
2.            เป็นระบบอัตโนมัติ
3.            เป็นระบบบูรณาการ
9. ระบบบูรณาการทางการผลิต
                มีการบูรณาการกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันมีความง่ายต่อการใช้งานและยังมีความเป็นอัตโนมัติ ซึ่งมุ่งเน้นถึงการผลิตสินค้าที่หลากหลายชนิด เช่น มีการใช้งานวิศวกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยร่วมกับการออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ทั้งยังมีการออกแบบการผลิตที่ดีด้วยระบบการวางแผนกระบวนการผลิต นอกจากนี้ธุรกิจยังมีการใช้ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (เอ็มอาร์พี) บูรณาการเข้ากับระบบจัดตารางการผลิตและระบบดำเนินการผลิตในโรงงาน คือ ระบบวางแผนทรัพยากรการผลิต (เอ็มอาร์พี II) นั่นเอง มีการเชื่อมโยงโมดูลงานที่หลากหลายของการวางแผนทรัพยากรการผลิตกับโมดูลของการวางแผนทรัพยากรองค์การเพื่อผลตอบแทนอย่างสูงสุดของระบบบูรณาการทางการผลิตอีกด้วย
10. ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
                ปัจจุบันมีการใช้ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลทั้งในส่วนของตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ ผ่านทางเครือข่ายส่วนตัวหรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้ ส่วนใหญ่จะใช้รับและส่งข้อมูลเอกสารที่ใช้อยู่ประจำโดยสร้างรูปแบบมาตรฐานของเอกสารและส่งผ่านจากระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การไปยังระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การคู่ค้า การใช้ระบบแลกเปลี่ยนอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นการลดความซับซ้อนด้านกระบวนการทางธุรกิจและลดเวลาการรับและส่งเอกสารอีกทั้งยังเพิ่มความรวดเร็วได้เป็นอย่างมาก
                ธุรกิจมักมีการประยุกต์ระบบสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับงานด้านโลจิสติกส์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัสดุ การขนส่งและการผ่านพิธีการศุลกากร นอกจากนี้องค์การผู้ซื้อสามารถประยุกต์ใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสั่งธนาคารให้โอนเงินชำระค่าซื้อสินค้า ค่าธรรมเนียมผ่านพิธีการศุลกากร ค่าบริการขนส่ง ไปยังผู้รับเงินเป้าหมายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ส่งผลให้องค์การคู้ค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจเกิดความพึงพอใจในการติดต่อการค้ากับองค์การอย่างต่อเนื่อง
 อ้างอิง ผศ. รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์   สารสนเทศทางธุรกิจ  ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น