วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับสารสนเทศ 9

3G กับคนไทย...คุ้มค่าแค่ไหนหาก อนุญาตให้ใช้จริง
นับถอยหลังอีกไม่นานประเทศไทย ก็จะมีระบบมือถือ 3G ใช้งานแล้ว หลังจากที่ตั้งตารอลุ้นมากเป็นเวลานาน แต่ ตัวผู้ใช้งานพร้อมมากแค่ไหน ขณะที่เวลานี้คนรุ่นใหม่ตื่นตัวกับการสื่อสารความเร็วสูงหรือไม่ เกษตรกรไทยได้ประโยชน์หรือไม่ถ้ามีใช้จริง ครั้งนี้ไอทีไดเจสมีมุมมองดีๆ จากคนรุ่นใหม่...หลายปีที่ผ่านมา กระแสของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคที่ 3 (Third Generation) หรือ 3G ได้รับการกล่าวถึงจากผู้ที่สนใจ และผู้เกี่ยวข้องในด้านเทคโนโลยีกันอย่างหนาหู รวมถึงข่าวคราวการเรียกร้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแก่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ โอเปอเรเตอร์ ทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ ล่าสุด ค่ายเอไอเอสก็ได้ฤกษ์เอาวันนี้เป็นวันเปิดให้บริการ 3GSM แบบเป็นทางการที่จังหวัดเชียงใหม่ เลยมีเรื่องให้กลับมาคิด และตามดูต่อว่า เมื่อคนไทยได้ 3G มาใช้งานแล้ว จะมีประโยชน์จริงๆ มากน้อยแค่ไหน ใครได้ประโยชน์จากการใช้มากที่สุด รวมทั้งมาฟังว่าคนรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นนิสิต นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาชั้นนำ เขามีมุมมองกับมือถือ 3G อย่างไร และเขาสนใจการเข้ามาของ 3G มากน้อยเพียงใดจากการที่ไอทีไดเจสได้ไปเกาะติดเวทีสัมมนา 3G in Thailand: The Time is Now เพื่อรับฟังข้อมูลจาก รองประธานอาวุโส จีเอสเอ็มโลก โดยคาดกันว่าจะเริ่มออกใบอนุญาตฯ ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2551 นี้ และในอนาคตอันใกล้นี้ก็เป็นที่น่าคิดเหมือนกันว่า ถ้าหาก 3G ได้รับใบอนุญาตจาก กทช.แล้ว ระบบการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงนี้ จะสามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชน ในประเทศเกษตรกรรมอย่างเมืองไทยได้มากน้อยเพียงใด

นายริคาร์โด ทาวาเรส รองประธานบริหารอาวุโส ฝ่ายนโยบายสาธารณะของสมาคมจีเอสเอ็มโลก กล่าวในงานสัมมนา 3G in Thailand: The Time is Now ว่า 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวอล์กแมน (Walkman) กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ที่เป็นยุคการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพลิเคชัน รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบ ที่น่าจะสามารถทำประโยชน์ให้กับการสื่อสารของประเทศไทยได้มากขึ้นในรองประธาน สมาคมจีเอสเอ็มโลก กล่าวนายทาวาเรส กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ทางสมาคมฯ ได้มีการติดต่อพูดคุยกับผู้เกี่ยวของทางภาครัฐ คือ คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) เกี่ยวกับการขอใบอนุญาติที่ทางภาครัฐก็ให้ความร่วมมือ และมีความเข้าใจดีถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ 3G แต่ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับด้านการจัดตั้งองค์กร ที่จะมาดูแล คาดว่าจะสามารถออกใบอนุญาติได้ประมาณเดือน ส.ค.2551 นี้ด้าน นายสยาม แย้มแสงสังข์ อาจารย์ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี แสดงความคิดเห็นว่า  HSDPA: High Speed Downlink Packet Access หรือ 3G เป็นเทคโนโลยียุคถัดมา จากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G เป็นระบบเครื่อข่ายไร้สายที่มีความเร็วสูงกว่าที่เคยมี ถ้านำมาใช้น่าจะให้ประโยชน์ในรูปแบบคล้ายกับ GPRS การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ-ส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้สูง 9 - 40 kbps แต่ถ้ามี 3G จะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆได้จำนวนมากขึ้น และใช้เวลาน้อยในการส่งถ่ายข้อมูล อ.ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี กล่าวอีกว่า เมื่อมี 3G หรือ 3.5G การติดต่อสื่อสารก็จะไม่ถูกจำกัดพื้นที่ สามารถสื่อสาร ณ ที่ใด เวลาใดก็ได้ โดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เพียงแค่ติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเท่านั้น และถ้าถ้าหากได้รับอนุญาตในการติดตั้งแถบความถี่ในไทยก็น่าจะเป็นประโยชน์มาก แต่คงไม่ใช้กับทุกคนในประเทศ เพราะคนส่วนมากคงไม่จำเป็นอะไรในการสื่อสารด้วยความถี่สูงขนาดนี้ ในระดับความถี่เดิมที่มีความเร็ว 2.5 และ2.75 ก็น่าจะพอเพียงสำหรับการติดต่อสื่อสารทั่วไปสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการในปัจจุบันแล้ว และถ้าหากผู้ให้บริการไม่ได้รับใบอนุญาติ ก็จึงไม่น่าผลกระทบมากนักกับการสื่อสารของคนในประเทศไทยเพราะเท่าที่รู้มา เครือข่ายระบบโทรศัพท์มือถือ รายใหญ่อย่างดีแทค และ เอไอเอส หรือ จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ในตอนนี้เขาก็ได้นำเอาระบบ 3G มาเปิดให้บริการในระบบความถี่เดิมอยู่แล้ว โดยระบบเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงขนาดนี้ น่าจะมีประโยชน์เฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการในการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ ในปริมาณมากๆ โดยใช้เวลาน้อยหรือมีเวลาที่จำกัด ส่วนมากน่าจะเป็นกลุ่มผู้ใช้ระดับองค์กร หรือบริษัทต่างๆ ที่มีหลายสาขา และมีการโอนถ่ายข้อมูลตลอดเวลานายสยาม กล่าวอ.ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า สำหรับในแง่ของการนำ 3G มาปรับใช้ในระบบการส่งข้อมูลทางด้านเกษตรกรรมของไทยนั้น ตนคิดว่า คงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไรมากนักเพราะในระบบการโอนถ่ายข้อมูลแบบเดิม ที่ใช้งานกันอยู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะในภาคเกษตรกรรมของไทยยังไม่ได้มีความจำเป็นอะไร ที่จะต้องส่งข้อมูลครั้งระจำนวนมากอย่างในความเร็วสูงเช่นนั้น และระบบซอฟต์แวร์การจัดระบบข้อมูลใน ขณะนี้ ก็มีความเป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้วนายสยาม ให้ความเห็นด้วยว่า ส่วนนำไปปรับใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษานั้น คงน่าจะเป็นเรื่องของอนาคตซึ่งถ้านำไปปรับใช้ได้น่าจะเป็นประโยชน์แน่นอนกับพวกการศึกษาทางไกลที่ไม่สามารถนำระบบอินเตอร์แบบที่มีอยู่เข้าไปถึง แต่ถ้าระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายเร็วสูงอย่าง 3G สามารถนำไปปรับใช้ได้ก็จะช่วยให้เกิดการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กไทยมากขึ้นนายพีรพงษ์ เม่นแดง นิสิตปีที่3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบแอนิเมชันดีไซน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความเห็นในฐานะผู้บริโภคว่า สำหรับตนที่ที่เป็นผู้ใช้บริการ สิ่งที่เห็นได้ชัดจากวิวัฒนาการ3G คงไม่ใช่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่านั้น แต่คงรวมถึงความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นเหมือนการย่อโลกให้เล็กลงในการสื่อสาร สำหรับคนยุคใหม่ๆ ที่ชีวิตจะต้องวนเวียนอยู่กับการใช้เทคโนโลยีอย่างหลีกหนีไม่ได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เกือบทุกๆ คนมีโทรศัพท์มือถือที่แทบเป็นปัจจัยหนึ่ง ในการดำลงชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ดังนั้น 3G ระบบสื่อสารไร้สายที่จะเข้ามาเต็มรูปแบบในอนาคตอันไกลนี้ น่าจะเป็นประโยชน์กับคนยุคใหม่ๆ แน่นอนนิสิตปีที่3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ม.นเรศวร ให้ความเห็นต่อว่า แต่ถ้าเรามองในส่วนของประชากรชั้นรากหญ้าที่ส่วนมากที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ระบบมือถือ 3G ที่เข้ามาคงมามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขาไม่มากนัก เพราะจากการที่เคยได้สัมผัสกับพวกเขา การใช้ชีวิตยังคงเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีมากมายนักอย่างคนเมือง แต่หากผู้นำในชุมชนเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีความรู้ และเข้าใจในระบบการใช้งานระบบไร้สายความเร็วสูง 3G ก็น่าจะเป็นประโยชน์ โดยนำมาประยุคเข้าใช้ในการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านได้มากที่เดียว เพราะจะทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ซื้อผลผลิต กับชาวไร่ชาวน่าเป็นไปไดง่าย รวดเร็วคิดทำให้การขายผลผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่วน นายวารพล เกษมสันต์ นักศึกษาปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมัลติมิเดีย มหาวิทยาลัยรังสิต แสดงความคิดเห็นว่า เทคโนโลยีต่างๆ ในทุกวันนี้ พัฒนาจนบ้างที่ผู้ใช้ยังเดินตามไม่ทัน ในฐานะของผู้ใช้บริการ และในอนาคตอาจได้เป็นหนึ่งในบุคลากรด้านการสื่อสาร คิดว่าระบบ 3G น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก เพราะการสื่อสารไร้สายเช่นนี้ที่ตนเองก็พอจะได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบ 3G มาบ้าง ก็เป็นระบบสามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วกว่าเดิมมาก และยังสามรถส่งข้อมูลต่างๆ ได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ จึงน่าจะทำให้การโอนถ่ายข้อมูลสำคัญเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลถึงขั้นตอนการทำงานต่างๆ ก็จะรวดเร็วตามมาด้วยนศ.ชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศฯ ม.รังสิต ให้ความเห็นอีกว่า แต่สำหรับในด้านเกษตรกรรมนั้น ตนคิดว่าไม่น่าจะมีผลเท่าไรนักเพราะชาวไร่ชาวนาเอง เขาก็มีวิถีชีวิตการประกอบอาชีพตามหลัก ที่ถูกสืบถอดมาแต่ครั้งปู่ยาตายาย คงไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอะไรที่มีความเร็วสูงมากมายขนาดนี้ ขนาดเทคโนโลยีเดิมที่ประเทศกำลังใช้อยู่พวกเขาบางคนก็ยังเดินตามแทบไม่ทันเลย แต่หากจะใช้จริงก็คงต้องเป็นเรื่องของอนาคต โดยตนคิดว่าต้องใช้เวลาอีกนานกับเรื่องนี้ คงต้องให้เศรษฐกิจการส่งออกของประเทศมีมากกว่านี้ โดยการส่งออกในภาคเกษตรกรรม ขณะนี้ ระบบการสื่อสารที่มีอยู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นจากทั้งคนที่เกี่ยวข้องกับวงการโทรคมนาคม และกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ก็เป็นที่น่าจับตามองว่าหากระบบการสื่อสารความเร็วสูงอย่าง 3G ได้รับการออกใบอนุญาติ ก็น่าจะหมายถึงการลงทุนมหาศาลสำหรับการยกผังเครือข่ายในประเทศให้เป็นแบบ 3G และการลงทุนมากมายขนาดนี้ จะนำประโยชน์ต่อการสื่อสารของไทย และจะเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศ ให้เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ และช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากับคนไทย ในการเข้าไปค้นหาความรู้ หรือ ข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามจะเอามาใช้ได้จริงหรือคงต้องดูกันต่อไป เพราะเวลานี้ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน 100% วันนี้ชัวร์พรุ่งนี้มั่วนิ่มก็ได้ใครจะรู้...
http://www.gredzy.com/forum/index.php?topic=157. 

1 ความคิดเห็น: