วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 8

บทที่ 8 สารสนเทศทางการเงิน
แนวคิดและความหมาย
                O brien (2005, p. 246) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ โดยการพัฒนาระบบย่อยในส่วนของการจัดการเงินสด การจัดการเงินลงทุน การพยากรณ์ทางการเงิน ตลอดจนการวางแผนทางการเงิน
                Laudon and Laudon (2005, p .52) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการสินทรัพย์ด้านการเงิน รวมทั้งการจัดการด้านการประเมินสินทรัพย์ให้เป็นทุนของธุรกิจ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้สำหรับการตัดสินใจทางการเงินที่มุ่งเน้นถึงผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุด รวมถึง 3 ระบบย่อยดังนี้
1.             ระบบในระดับกลยุทธ์
2.             ระบบในระดับบริหาร
3.             ระบบในระดับปฏิบัติการ
Stair and Reynolds (2006, p. 465) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่มีการนำเสนอสารสนเทศทางการเงินให้แก่ผู้บริหารในองค์การ ตลอดจนกลุ่มบุคคลทั่วไปภายนอกองค์การที่จำเป็นต้องตัดสินใจทางการเงินรายวัน การนำเสนอสารสนเทศทางด้านธุรกรรมทางการเงินมักจะอยู่ในรูปแบบที่กระชับ ซึ่งมีชื่อว่า ซาเบร มีการใช้ข้อมูลระบบฐานอย่างง่าย ตลอดจนระบบออกรายงานทางการเงินที่ยืดหยุ่น เพื่อสกัดสารสนเทศจากระบบและออกรายงานการค้าหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือป้องกันการฉ้อฉล ในตลาดหุ้นช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.             รวบรวมสารสนเทศทางการเงินและการปฏิบัติงาน
2.             ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
3.             เปิดโอกาสให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นตลอดเวลา
4.             วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้หลายมิติ
5.             วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบัน
6.             ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน
การจัดการทางการเงิน
                การเงิน คือ หน้าที่ทางหนึ่งของธุรกิจมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายสำคัญทางการเงิน คือ การเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดให้แกผู้ถือหุ้นและพิจารณาจากอัตราการจ่ายเงินปันผลและมูลค่าหุ้นสามัญในตลาดต้องอาศัยกระบวนการจัดการทางการเงินอย่างเป็นระบบเบ่งได้ 5 หัวข้อดังนี้
1. แนวคิดและความหมาย
                เคียวน์  มาร์ติน  เพตตี  และสก็อต ให้คำจำกัดความไว้ว่า การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น เช่น ในการตัดสินใจว่าควรนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดเมื่อใด ควรเลือกที่จะกู้ยืมเงินจากธนาคารเมื่อใด หรือมีการออกหุ้นทุนหรือหุ้นกู้จำหน่ายเพื่อระดมเงินทุนเข้ากิจการ
                ระบบการเงินมุ่งเน้นถึงการจัดสรรเงินที่มีอยู่ในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้สอยหรือการบริโภคเงิน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในระบบเพื่อการจัดหาเงินทุนของธุรกิจและการลงทุนของนักลงทุนจึงต้องคำนึงถึงอุปสงค์ในเงินทุนและอุปทานในเงินทุนด้วย
2. ขอบเขตทางการเงิน
                มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์  พันธ์หอม จำแนกขอบเขตทางการเงินออกเป็น 3ส่วนดังนี้
                2.1 ตลาดการเงิน มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆดังนี้
                                2.1.1 ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
                                2.1.2 ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปีจำแนกเป็น
                                1.ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์กับผู้ซื้อครั้งแรก
                                2. ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์กับผู้ซื้อครั้งแรกไปสู่ผู้ซื้อในครั้งต่อๆไป
                2.2 การลงทุน การตัดสินลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ
                2.3 การเงินธุรกิจ เป็นการจัดการทางเงินภายในองค์การ
3.หน้าที่ทางการเงิน
                เป็นหน้าที่ของผู้บริหารของธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะสนองตอบภารกินสำคัญ 4 ประการดังนี้
3.1      การพยากรณ์และการวางแผน คือ หน้าที่ด้านการพยากรณ์ถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต
3.2      การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการหาเงินทุนเพื่อรองรับการลงทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้
3.3      การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
3.4      การจัดการเงินทุนจำแนกไดดังนี้
3.4.1                   การจัดการสภาพคล่องเป็นการจัดการเงินทุนในระยะสั้น
3.4.2                   การจัดการเติบโต เป็นกาจัดการเงินทุนในระยะยาว
3.4.3                   การจัดการความเสี่ยงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการเงินให้กับกิจการ
นอกจากนี้ฝ่ายการเงินมีหน้าที่ให้ความมือและการควบคุมให้ความร่วมมือกับผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานโดยมีการนำเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับข้อจำกัดที่อาจมีอยู่และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานจนมีการควบคุมการจัดสรรเงินทุนอย่างเหมาะสม
4. เป้าหมายทางการเงิน
                4.1 กำไรสูงสุด เน้นถึงการใช้ประสิทธิภาพของทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่กำไรสูงสุดก็ยังคงละเลยต่อปัจจัย 3 ประการ คือ ความเสี่ยงของการลงทุน ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนและต้นทุนเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นและเจ้าของ
                4.2 ความมั่งคั่งสูงสุด  ธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงคุณภาพตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ถือว่าธุรกิจนั้นเกิดความมั่งสูงสุดซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเงินที่ถูกต้อง ตลอดจนมีการพื้นฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
5. การตัดสินใจทางการเงิน
                มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้นและคนอื่นๆ จำแนกประเภทของการตัดสินใจทางการเงินออกเป็น  3 ประเภท
                5.1 การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดเริ่มจากการกำหนดสินทรัพย์ที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ จำนวนเงินในสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกขนาดของบริษัท จากนั้นจึงจำแนกส่วนประกอบของสินทรัพย์ที่จำเป็นต้องมี
                5.2 การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
                                1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ใช้จ่ายภายในกิจการ
                                2. แหล่งเงินทุนทั้งระยะสั้นละระยะยาว
                                3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
                                4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน  หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
5. ต้นทุนของเงินทุนแต่ละประเภท
                5.3 การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงเหลือหลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้วและยังใช้อัตราการปันผล
สารสนเทศทางการเงิน
1. แนวคิดและความหมาย
                สารสนเทศทางการเงิน หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน อาศัยข้อมูลของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2. การจำแนกประเภท
                2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือสารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและการจ่ายเงินสด การจัดหาและการใช้เงินทุน ตลอดจนการลงทุนในสินทรัพย์ ดังนี้
                                2.1.1 สารสนเทศด้านกระแสเงินสด บ่งบอกถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน
                                2.1.2 สารสนเทศด้านเงินทุน เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนไว้ใช้จ่ายในกิจการตลอดจนการใช้เงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
                                2.1.3 สารสนเทศด้านการลงทุน เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆทั้งระยะสั้นและระยะยาว
                2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้
                                2.2.1 สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศได้จากการคาดคะเนเหตุการณ์ทางการเงินในอนาคต
                                2.2.2 สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด ได้จากการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีตมาจัดทำแผนงบประมาณเงินสด
                                2.2.3 สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน เกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุนภายใต้โครงการต่างๆ
                                2.2.4 สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน ใช้สำหรับสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการเงิน
                                2.2.5 สารสนเทศด้านการควบคุมทางการเงิน สนับสนุนด้านการควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบทางการเงิน
                2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
                                2.3.1 สารสนเทศจากตลาดการเงิน
                                2.3.2 สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ มีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ อีกทั้งยังมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น  ปานกลาง ระยะยาว นักวิเคราะห์การเงินส่วนใหญ่จะใช้เว็บและแผ่นตารางทำการ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยสร้างแผนทางการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านงบประมาณต่างๆ จำแนกได้ 3 ระบบย่อยดังนี้
                1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน จำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเงินทุนและต้นทุนเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญ
                การพยากรณ์ทางการเงินต้องอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการตลาดในส่วนการพยากรณ์ยอดขาย ช่วยให้ธุรกิจมองเห็นถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต และสามารถจัดทำแผนการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆได้
                1.2 ระบบงบประมาณเงินสด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินธุรกิจส่วนใหญ่มักทำรายงานงบประมาณประจำปีสำหรับการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินขององค์การ  ซึ่งยินยอมให้ผู้บริหารใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุภารกิจ อาจใช้ระบบอัจฉริยะทางการเงินเข้าร่วมด้วยในกระบวนการจัดทำงบประมาณ
                พายัพ ขาวเหลือง (2006, p. 247) นิยามไว้ว่า งบประมาณ คือ แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการวางแผน การจัดหา และการจัดสรรทรัพยากร ณ ช่วงเวลาหนึ่งของการทำธุรกิจในอนาคต มีการจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
                                1.2.1 งบประมาณดำเนินงาน
                                1.2.2 งบประมาณเงินสด
                                1.2.3 งบประมาณลงทุน
                1.3 ระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
2. ระบบจัดการทางการเงิน  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านเพื่อการบรรลุในวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน หลังจากที่ธุรกิจได้มีการวางแผนทางการเงินแล้วในรูปแบบของงบประมาณต่างๆ สามารถจำแนกได้ 4 ระบบย่อยดังนี้
                2.1 ระบบจัดหาเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน สามารถจัดหาเงินทุนได้ 2 วิธี ดังนี้
                                1. การกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ
                                2. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ
                2.2 ระบบจัดการเงินทุนคือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการใช้และบริหารเงินทุน สำหรับธุรกิจประเภทธนาคารอาจมีการใช้ระบบจัดการเงินทุนโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบนี้จะมีศักยภาพสำหรับการล้างยอดจ่ายเงินภายในวันเดียว สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากระบบจะบ่งบอกถึงปัญหาด้านกระแสเงินสดที่ต้องการแก้ไข บางกรณีอาจใช้สารสนเทศสำหรับการจัดการเงินทุนเพื่อเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจได้
                2.3 ระบบจัดการเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุนหลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว ต้องดำเนินการจัดการเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ มักทำได้ยากทั้งในระดับส่วนบุคคลและระดับบริษัท มีทางเลือกของการลงทุนที่มากมายโดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นสามัญต่างๆ ต้องอาศัยพื้นฐานการตัดสินใจด้านเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์ทางการเงินเข้าช่วย
                2.4 ระบบจัดการเงินสดคือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน มุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ในรูปแบบเงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย โดยระบบจะเริ่มตั้งแต่ที่มีการถือครองเงินสดในกิจการ การบริหารสภาพคล่อง คือ การวัดความสามารถของการนำสินทรัพย์มาชำระหนี้ได้ตามกำหนดนั่นเอง

3.ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน  เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินในส่วนของการรับและการจ่ายเงินสดภายในธุรกิจ ด้านการจัดหาสินทรัพย์ การลงทุน และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้ประกอบกับระบบเอกสารและหลักฐานการรับและจ่ายเงิน โดยธุรกิจอาจใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อควบคุมการคงอยู่ของเงินสดของธุรกิจ สามารถใช้เป็นร่องรอยการตรวจสอบที่มาและใช้ไปของกระแสเงินสดภายในธุรกิจได้
4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนการเงิน การจัดหาเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นธุรกิจจึงควรอาศัยเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อเป็นการนำเสนอถึงจุดอ่อนและจุดแข็งทางการเงินของธุรกิจ ผู้วิเคราะห์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงบการเงินของธุรกิจอันประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน โดยTurban et al. (2006, p. 247) ได้จำแนกรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเงิน 3 รูปแบบ ดังนี้
                4.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
                4.2 การวิเคราะห์กำไร
                4.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
5. ระบบควบคุมทางการเงิน คือ การที่ธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งาน การเกิดค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ การใช้เงินทุนสูงเกินไป กิจกรรมด้านการควบคุมมีหลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบระบบสารสนเทศด้วย โดย Turban et al. (2006, p. 247)
 ได้จำแนกรูปแบบการควบคุมได้ดังนี้
                5.1 การควบคุมงบประมาณ
                5.2 การตรวจสอบ
                5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ


เทคโนโลยีทางการเงิน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้กับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบงานอื่น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกเอกสารและรายงานทางการเงินตามความต้องการของผู้ใช้ขอยกตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน 3 ประเภทดังนี้
                1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการจัดการทางการเงิน  Turban et al. (2006, p. 247) ได้ยกตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 และแมส 200 ซึ่งมีการรวมมอดูลของระบบงานด้านต่างๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านการสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่จำเป็นระหว่างมอดูล
                1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงบประมาณคือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านงบประมาณ อาจจะพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียมและควบคุมงบประมาณ ซึ่งคือกลุ่มผู้ร่วมมือด้านการจัดเตรียมงบประมาณในองค์การ
                ในส่วนวิธีงบประมาณจะมี 2 วิธี คือ วิธีจากบนลงล่างขึ้นบนบางโปรแกรมสำเร็จรูปอาจยินยอมให้ผู้เลือกใช้ตัวแบบทางการเงินเพื่อเป็นการประสานงานสำหรับทั้ง 2 วิธี อาจมีการสร้างงบประมาณในรูปแบบที่ซับซ้อนหรือมีความเกี่ยวข้องกับหลายแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ แนวโน้มล่าสุดของการผลิตซอฟแวร์ด้านงบประมาณ คือ การผลิตซอฟแวร์สำหรับโรงพยาบาลโดยมีการผสมผสานระหว่างหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและการออกรายงาน
                ผลประโยชน์หลักของการใช้ซอฟแวร์งบประมาณ คือ ความสามารถในการลดเวลาและลดความพยายามเกี่ยวกับกระบวนการทางงบประมาณมุ่งเน้นถึงการสำรวจ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การด้วยการประสานที่ลงตัว ระหว่างแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
                1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำข้อมูลและประมวลผลค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงรับรองต่างๆ อาจตั้งค่าในระบบให้ยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายได้เพียง 20 % ของค่าใช้จ่ายดำเนินงานทั้งหมด ส่วนใหญ่มักเป็นระบบประยุกต์บนเว็บแทนที่แบบฟอร์มกระดาษและตารางทำการต่างๆ
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช
                ธุรกิจมีการนำระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ชมาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการทางการเงินเพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น Turban et al. (2006, p. 247) ได้ยกตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช ดังนี้
                2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการกระจายด้านการแลกเปลี่ยนหุ้นตลอดจนด้านการประมวลผลด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
                2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
                2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
                2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
                2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการจ่ายชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
                ธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการชำระหนี้ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากดอกเบี้ยหรือต้นทุนเงินทุน มีการนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกใช้ เครื่องมือด้านการชำระหนี้เพื่อจัดเตรียมเงินสดรับเข้าสู่กิจการ มีดังนี้
                3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ
                3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
                3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากผู้ให้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์มอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คเข้าบัญชี
                3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลงสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ทันทีที่เช็คครบกำหนดจ่ายเงิน
                3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายคลึงกับเช็คสั่งจ่ายปกติแต่จะอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์มีการใช้ระบบลายเซ็นดิจิทัล
                3.6 เงินสดอิเล็กทรอนิกส์
                3.7 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
3.8 ระบบธนาคารศูนย์กลาง
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
                Turban et al. (2006, p. 247) ให้ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านการทำเหมืองข้อมูลทางการเงินที่ใช้สนับสนุนระบบสารสนเทศทางการเงิน ดังนี้
                4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
                4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน
                4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน
อ้างอิง : ผศ.รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์    สารสนเทศทางธุรกิจ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น