วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับสารสนเทศ 7

ผลกระทบของการนำสารนเทศมาใช้ในองค์กร (ไอซีที)
ก.ไอซีที จับมือลาดกระบังพัฒนาโปรแกรมไอซีที  เฮาส์คีปเปอร์  2008 รุกป้องปรามภัยสังคม
 ก.ไอซีที ผนึก ส.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง พัฒนาโปรแกรมไอซีที เฮาส์คีปเปอร์ 2008  หนุนครัวเรือน และองค์กรรัฐ เอกชน สถานศึกษา ร่วมมือสกัดภัยร้ายอิเล็กทรอนิกส์สู่เยาวชน หวังระงับต้นเหตุก่อนจะบานปลายทำลายสังคมและขีดความสามารถการพัฒนาประเทศ (4 เม.ย. 51) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดร.มั่น พัธโนมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงพิธีส่งมอบ โปรแกรม ไอซีที เฮาส์คีปเปอร์ 2008   ซึ่งเป็นนโยบายในการดูแลจัดการการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดทำโปรแกรมดังกล่าวขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้ปกครอง ประชาชน สถานศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการการใช้อินเทอร์เน็ต  และเว็บไซต์ รวมถึงป้องกันการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมของผู้ใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 8 - 16 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเลือกบริโภคข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง   และอาจก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพจิตทั้งต่อตนเอง และผลกระทบที่มีต่อสังคมได้ในที่สุด

         ทั้งนี้เป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดการตื่นตัว และร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันภัยที่แฝงมากับการใช้โปรแกรมต่างๆบนอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ให้ได้มากที่สุด เพราะกระทรวงฯ คาดหวังให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือในการเฝ้าระวังสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ใช้บริการดังกล่าวเกิดการใช้งานอย่างมีคุณภาพ   และสร้างสรรค์สังคมต่อไป
  ปัจจุบันทั้งภาคครัวเรือน หน่วยงาน องค์กรภาครัฐ และเอกชน รวมถึงสถานศึกษาต่างๆ ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากภัยแฝงเหล่านี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินทุนหรือบุคลากรที่จัดหาโปรแกรมที่มีราคาแพงในการป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เข้าข่ายอันตรายในรูปแบบต่างๆ กระทรวงฯจึงได้มีนโยบายในการพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น เพราะมีประโยชน์ต่อการควบคุมเวลาการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต กำหนดเว็บไซต์ที่ไม่อนุญาตให้เข้าใช้งาน เช่น เว็บไซต์ลามกอนาจาร เป็นต้น อีกทั้งโปรแกรมยังใช้กำหนดเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ของแต่ละบุคคล กำหนดการใช้งานโปรแกรมต่างๆ และกำหนดประเภทของการเล่นเกม รวมทั้งสามารถสร้าง Profile การใช้งานสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายได้เป็นอย่างดีด้วยดร.มั่นกล่าว
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์และบริการทางอินเทอร์เน็ตได้ขยายตัวสูงขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยประเทศไทยในปีที่ผ่านมามีการขยายตัวของการใช้งานเป็นอย่างมาก พบว่ามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 8.42 ล้านคนในปี 2550 หรือคิดเป็นร้อยละ12.70 ของประชากรของประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณร้อยละ 2.1 ของภูมิภาค  เอเชียแปซิฟิก หรือนับเป็นอันดับ 10 ในเอเชีย และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 266.1 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวการใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีการใช้งานมากที่สุดของประเทศ และมีการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และบริการอินเทอร์เน็ตมาติดตั้งเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และความบันเทิงต่างๆ มากขึ้นทุกปี แต่พบว่ายังมีแหล่งข้อมูลบางส่วนของช่องทางบริการดังกล่าวเป็นต้นเหตุของการก่อให้เกิดอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และภัยร้ายต่อสังคม อาทิ ภาพที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ การชักนำเข้าสู่การพนัน การส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรง เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานที่ขาดการดูแลแนะนำจากผู้ปกครอง อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ใช้ที่มีอายุน้อย หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างปัญหาครอบครัว และการขีดกั้นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ในที่สุด
 
         ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือป้องกันภัยทางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้นตลอดจนยังสร้างแรงกระตุ้นให้ประชาชนร่วมเป็นเครือข่ายแจ้งรายชื่อเว
http://www.mict.go.th/home/1323D2
http://charinrat.blogspot.com/2008/01/blog-post. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น